ผู้บริหารระดับสูงจะกำหนดจุดประสงค์ประจำปีโดยคำนึงถึงแฟกเตอร์ 4 ประการ เริ่มจากแฟกเตอร์แรกคือ จุดประสงค์ระยะยาวของบริษัท (long-run goals) หรือ GL ซึ่งจุดประสงค์นี้รวมถึงเป้าหมายการเจริญเติบโตของยอดขาย เป้าหมายกำไร และผลตอบแทนจากการลงทุนที่กำหนดไว้
สมมุติว่าบริษัทตั้งความพยายามไว้ว่า
1.ต้องมียอดขายเพิ่มขึ้นปีละ 10%
2.ต้องได้กำไรก่อนเสียภาษีจากยอดขายปีละ 20%
3.ต้องได้กำไรก่อนเสียภาษีจากยอดการลงทุน 25%
ซึ่งสามารถเขียนเป็น
GL = (Rt/Rt-1 ,Zt/Rt, Zt/It)
= (1.10, .20, .25)
นั่นคือ
GL = จุดประสงค์ระยะยาว
Rt = จุดประสงค์รายได้จากยอดขายในระยะเวลา t
Zt = จุดประสงค์กำไรจากยอดขายในระยะเวลา t
lt = จุดประสงค์กำไรจากการลงทุนจากยอดขายในระยะเวลา t
แฟกเตอร์ต่อไปที่จะต้องพิจารณาคือ ผลงานที่เพิ่งผ่านพ้นมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถ้ายอดขายและกำไรของปีที่แล้วมาตกต่ำ ผู้บริหารควรจะทบทวนและหาทางอื่นที่แตกต่างไป มากกว่าที่จะรักษาให้ยอดขายและกำไรอยู่ในระดับปกติ ต่อมาต้องพิจารณาถึงภาวะปัจจุบัน เช่น ถ้าเศรษฐกิจดูทีท่าว่าจะดีขึ้น ผู้บริหารอาจจะตั้งเป้าหมายยอดขายของปีนี้มากกว่า 10% และต้องพิจารณาคู่แข่งขัน และอุตสาหกรรมที่บริษัทตนเองอยู่ด้วย แฟกเตอร์สุดท้ายคือ พิจารณาแรงกดดันและคาวหวังที่สำคัญของสาธารณชน เช่น ถ้าผู้ถือหุ้นกำลังอยู่ในภาวะไม่พอใจ บริษัทอาจจะต้องการตั้งจุดมุ่งหมายกำไรให้สูงขึ้นสำหรับปีต่อไป เป็นต้น
ยกตัวอย่างของขบวนการตั้งจุดประสงค์และงบประมาณของบริษัทแห่งหนึ่ง สมมุติว่าบริษัทมีเงินทุน 300,000 บาท ผู้บริหารระดับสูงประมาณว่า บริษัทจะต้องเพิ่มเงินทุนอย่างน้อยเป็น 500,000 บาท ภายในระยะเวลา 5-6 ปีข้างหน้า ซึ่งจำนวนเงินทุนเพิ่มอีก 200,000 บาทนี้ ควรจะได้มาจากรายได้แต่ละปี อย่างน้อยต้องเท่ากับ 10% ของเงินทุนต้นปีของแต่ละปี ซึ่งหมายความว่าบริษัทพยายามหากำไรเฉลี่ยหลังหักภาษี 30,000 บาท แต่เนื่องจากภาษีของบริษัทเป็น 42% ดังนั้นกำไรก่อนภาษีควรจะเป็น 52,000 บาท ผู้บริหารสินค้าประมาณว่ายอดขายสุทธิของปีต่อไปจะเป็นจำนวน 1,720,000 บาท ต้นทุนผันแปรเป็น 80% ของยอดขาย ซึ่งทำให้กำไรขั้นต้นของยอดขายเป็น 344,000 บาท พนักงานขายรับค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายเป็น 240,800 บาท ต้นทุนคงที่สำหรับเครื่องอำนวนความสะดวก การตลาด การบริหาร ประมาณ 205,800 บาท ดังนั้นกำไรก่อนภาษีจะเท่ากับ 35,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 17,000 บาท ถ้าผลกำไรต่ำกว่าเป้าหมาย ผู้บริหารควรจะต้องพิจารณาด้านต้นทุนอย่างละเอียดเพื่อดูว่ามีทางใดที่จะลดต้นทุนทางด้านใดบ้าง หรือจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านใดบ้าง ถ้าไม่มีจะต้องตรวจสอบความแน่นอนในการประมาณความต้องการ ถ้าปรากฏว่าการประมาณความต้องการดีแล้ว จะต้องพิจารณาทางเลือกแผนงานการตลาด หรืออาจจะต้องลดจุดประสงค์กำไรลง
ต่อไปจะพิจารณาการประมาณยอดขายที่จะทำกำไรให้กับบริษัทก่อนเสีบภาษี 52,000 บาท การพิจราณายอดขาย ณ จุดนี้จะประมาณได้ดังต่อไปนี้ คือ
เนื่องจากรายได้จากการขาย = ต้นทุนผันแปร + เปอร์เซ็นต์ขาย + ต้นทุนคงที่ + กำไรก่อนภาษี หรือ
R = cR + b(R – cR) + F + Z
R = รายได้จากยอดขาย
c = ต้นทุนผันแปรตามเปอร์เซ็นต์ขาย (80%, .8)
b = อัตราค่าเปอร์เซ็นต์ขายของกำไรขั้นต้น (30%, .3)
F = ต้นทุนคงที่
Z = กำไร
R = (F + Z)/(1 – c – b + bc)
= (205,800 – 52,000)/(1 - .8 -.3 + (.8)(.3))
= 257,800/.14
= 1,841,428 บาท
ดังนั้น งานของบริษัทคือ จะต้องจัดหาแผนงานตลาดที่จะทำให้บริษัทมียอดขายถึง 1,841,428 บาท ณ ระดับต้นทุนที่กำหนด เพื่อที่จะได้กำไรตามเป้าหมาย คือ 52,000
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น