ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix)

ในการบริหารสินค้า ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับค่าใช้จ่ายทางการตลาด ก็อาจจะเพิ่มยอดขายได้ โดยการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมทางการตลาด เช่น ถ้าสินค้าของเราเข้าสู่ขั้นภาวะเจริญเติบโตเต็มที่ เราอาจจะเปลี่ยนแปลงงบประมาณการโฆษณาให้น้อยลง โดยเอาไปเพิ่มในงบการส่งเสริมการขาย เป็นต้น

การพิจารณาเปลี่ยนแปลงส่วนผสมทางการตลาด ผู้จัดการขายอาจจะทำได้โดยการประมาณยอดขายที่เกี่ยวข้องกับส่วนผสมทางการตลาดแต่ละแบบและพิจารณาว่าส่วนผสมใดห็ผลกำไรสูงสุด ตัวอย่าง ผู้จัดการสินค้าขายสินค้าในราคาต่ำมาเป็นเวลานานแล้ว คือราคา 16 บาท และใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดเป็นจำนวนน้อย คือโฆษณาเพียงปีละ 10,000 บาท และอีก 10,000 บาทสำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย ยอดขายประมาณปีละ 12,000 หน่วย และกำไรประมาณ 14,000 บาท ผู้จัดการสินค้าต้องการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้ดีกว่านี้เพื่อที่จะเพิ่มกำไร ขั้นแรก จะกำหนดทางเลือกของกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาดต่าง ๆ กัน 8 แบบ โดยการสมมุติ ซึ่งพิจารณาจากส่วนผสมของราคาสูงและราคาต่ำ (24 และ 16 บาท) และค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สูงและต่ำ (15,000 และ 10,000 บาท) ขั้นต่อไป ทำการประมาณยอยขายที่ควรจะเป็น จากส่วนผสมต่าง ๆ นี้ วิธีการที่ดีที่สุดอาจจะให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณ ถ้าเขามีความชำนาญพอก็จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สมมุติว่าจากวิธีนี้ให้ผลการประมาณยอดขายดังแสดงไว้ในคอลัมน์สุดท้ายของตาราง ขั้นสุดท้ายคือ พิจารณาว่าส่วนผสมทางการตลาดใดที่ให้กำไรสูงสุด สมมุติว่า การประมาณยอดขายนั้นเชื่อถือได้ นั่นคือจะต้องหาสมการกำไร และลองแทนค่าส่วนผสมทางการตลาดต่าง ๆ นี้ เข้าไปในสมการเพื่อหากำไรสูงสุด

ส่วนผสมที่

1

2

3

4

5

P

A

D

Q

Z

1

16

10,000

10,000

12,400

16,400

2

16

10,000

50,000

18,500

13,000

3

16

50,000

10,000

15,100

7,400

4

16

50,000

50,000

22,600

-2,400

5

24

10,000

10,000

5,500

19,000

6

24

10,000

50,000

8,200

16,800

7

24

50,000

10,000

6,700

-4,200

8

24

50,000

50,000

10,000

2,000

สมการกำไร (Z) หาได้จากรายได้จากการขาย (R) หักด้วยต้นทุน (c)

Z = R – C

รายได้คือ ราคาสินค้าสุทธิ (P’) คุณด้วยจำนวนหน่วย (Q)

R = P’Q

แต่ราคาสุทธิ (P) คือ ราคาที่กำหนดไว้ (list price P) หักด้วยส่วนยอมให้ต่าง ๆ ต่อหน่วย ซึ่ง ได้แต่ ค่าขนส่งที่ยอมให้ ส่วนลดที่ยอมให้ และค่าคอมมิชชั้น

ดังนั้น P’ = P – k

ต้นทุนสินค้าอาจจะแบ่งออกได้เป็น ต้นทุนผันแปรที่ไม่ใช่ต้นทุนทางการตลาด (E) ต้นทุนคงที่ที่ไม่ใช้ต้นทุนทางการตลาด (F) และต้นทุนทางการตลาด (M)

C = EQ + F + M

ค่าใช้จ่ายทางการตลาดแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ค่าโฆษณา (A) และค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย (D)

M = A + D

แทนค่าต่าง ๆ นี้ ในสมการกำไรจะได้สมการดังนี้คือ

Z = ((P – k) – E)Q – F – A – D
Z =
กำไรรวม
P = ราคาที่กำหนดไว้
k =
ส่วนยอมให้
E = ต้นทุนผลิตผันแปร
Q = จำนวนจำหน่าย
F = ต้นทุนคงที่
A = ค่าใช้จ่ายโฆษณา
D = ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย
((P – k) – E) เป็นกำไรขั้นต้นต่อหน่อย (gross contribution margin)
((P – k) – E)Q
เป็นรายได้ที่จะมาคลุมต้นทุนคงที่ และค่าใช้จ่ายทางการตลาด

สมการนี้สามารถทำให้ผู้วางแผนทำการตัดสินใจทางการตลาดได้หลายแบบ เพื่อให้ได้กำไรและยอดขายที่ต้องการ ยอดขายจะมีอิทธิพลต่อราคาที่ตั้งไว้ ส่วนยอมให้ ต้นทุนผันแปร การโฆษณาและค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย

Q = f(P,k,E,A,D)

P,k,E,A,D คือส่วนผสมทางการตลาด และสมการ Q = f(P,k,E,A,D) เป็นฟังชันก์การตอบสนองการขาย เมื่อผู้จัดการสินค้ามีสมาการกำไรที่เกี่ยวข้องกับส่วนผสมทางการตลาด สมมุติว่าต้นทุนคงที่เท่ากับ 38,000 บาท ต้นทุนผันแปรต่อหน่าย (E) เท่ากับ 10 บาท และ k = 0

ดังนั้น สมาการกำไรคือ

Z = (P – 10)Q – 38,000 – A – D

จากสมการนี้จะได้กำไรที่ต่างกันตามราคาสินค้า ค่าโฆษณา และค่าใช้จ่ายขายที่จะเลือก

เมื่อมาถึงจุดนี้ ผู้จัดการขายก็อาจจะลองใช้ส่วนผสมทางการตลาดแต่ละชนิด และประมาณระดับยอดขายต่าง ๆ จากตาราง มาแทนค่า จะได้กำไรระดับต่าง ๆ กัน ส่วนผสมที่ 5 ให้กำไรสูงสุด คือ 19,000 บาท ซึ่งราคาของสินค้าเป็น 24 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายขายและโฆษณาเป็นอย่างละ 10,000 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum