แนวความคิดของการจัดส่วนผสมผลิตภัณฑ์ให้ดีที่สุด

เมื่อบริษัทตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ส่วนผสมผลิตภัณฑ์แล้ว ควรจะต้องทบทวนอยู่เสมอว่าสินค้านั้น หรือสายสินค้าในส่วนผสมผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มการขายในอนาคตดีหรือไม่ มีเสถียรภาพการขายและสามารถทำกำไรให้กับบริษัทหรือไม่ เนื่องจากภาวะตลาดเปลี่ยนไปตามความต้องการหรือรสนิยมของผู้บริโภค และมีคู่แข่งขันใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดอยู่เสมอ มีการเปลี่ยนแบบส่วนผสมการตลาด ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนี้อาจจะทำให้สินค้าบางอย่างของบริษัทต้องประสบความขาดทุน แต่สินค้าบางอย่างอาจจะเริ่มทำกำไรได้ดีให้กับบริษัท

สมมุติว่าบริษัทมีสินค้าขายอยู่ 3 ชนิด คือ A, B และ C (จากรูป) แสดงให้เห็นถึงการคาดการกำไรใน 6 ปีข้างหน้า

สินค้า A จะให้กำไรประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของกำไรรวมทั้งหมด สินค้า B ให้กำไร 30 เปอร์เซ็นต์ และสินค้า C ให้กำไร 10 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจำนวนกำไรของสินค้าที่เป็นเปอร์เซ็นต์น้อย มักจะเป็นสินค้าที่ให้กำไรสูง จากรูปจะเห็นได้ว่าบริษัทคาดการว่ารายได้ของสินค้า A จะตกต่ำลง ของสินค้า B จะสูงขึ้น และต่อมาจะตกต่ำลง ส่วนรายได้ของสินค้า C จะสูงขึ้น เมื่อถึงปีที่ 6 สินค้า C จะเป็นสินค้าที่ทำกำไรให้กับบริษัทมากที่สุด ตามด้วยสินค้า B และ A แต่ที่สำคัญคือสินค้าทั้ง 3 ชนิดนี้ไม่ได้ทำกำไรให้กับบริษัทมากพอเท่าที่บริษัทต้องการ อัตราการเจริญเติบโตของกำไรน้อยกว่าที่ตั้งไว้ จะแสดงให้เห็นถึงช่องว่างกำไร (profit gap) ซึ่งบริษัทอาจจะพยายามปรับปรุงกำไรให้ได้ตรงตามเป้าหมาย โดยการทำการพัฒนาสินค้าใหม่ หรือนำสินค้าใหม่ ๆ ออกมาขาย

นอกเหนือไปจากที่บริษัทควรจะต้องมีการเพิ่มสินค้าใหม่เข้ามาแล้ว ควรจะต้องจัดการกับสินค้าเก่าต่อไปด้วย ทางหนึ่งที่บริษัทจะทำได้คือ พยายามปรับปรุงส่วนผสมสินค้าปัจจุบันตามความเจริญเติบโตของยอดขาย ส่วนครองตลาด และกำไรโดยพิจารณาตามอัตราส่วนมากและน้อยดังนี้

1.กรณีที่สินค้าบริษัทมีอัตราการเจริญเติมโตสูง และมีส่วนครองตลาดสูง (High growth and high share) บริษัทต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากพอที่จะคงรักษาส่วนครองตลาดที่สูงได้
2.กรณีที่สินค้าบริษัทมีอัตราการเจริญเติมโตสูงและมีส่วนครองตลาดต่ำ (High growth and low share) บริษัทต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากมายเพื่อสร้างส่วนครองตลาดก่อนทีความเจริญเติบโตจะลดลง ในกรณีเช่นนี้บริษัทไม่สามารถจะจัดการสินค้าที่มีลักษณะนี้ทุกตัวได้ และการพิจารณาถอนสินค้าที่ไม่สามารถเพิ่มส่วนครองตลาดให้สูงได้
3.กรณีที่สินค้าบริษัทมีอัตราการเจริญเติมโตต่ำ และม่ส่วนครองตลาดสูง (Low growth and high share) ชนิดสินค้าที่มีลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นแหล่งรายได้ของบริษัท ดังนั้น บริษัทต้องพยายามรักษาส่วนครองตลาดไว้
4.กรณีที่สินค้าบริษัทมีอัตราการเจริญเติมโตต่ำ และมีส่วนครองตลาดต่ำ (Low growth and low share) ถ้าบริษัทมีสินค้าชนิดนี้ไม่ควรให้ความสนใจลงทุนมากนัก

เทคนิคการพิจารณาส่วนผสมสินค้าแบบนี้มีประโยชน์ 4 ประการด้วยกัน คือ
1.แสดงให้เห็นถึงว่า อัตราการพัฒนาสินค้าใหม่หรือการแนะนำสินค้าใหม่ออกมาของบริษัทเพียงพอหรือไม่
2.แสดงให้เห็นถึงอัตราการคัดสินค้าออกและสินค้าชนิดใดของบริษัทควรจะถูกคัดออก
3.แสดงให้เห็นว่า สินค้าแต่ละชนิดควรจะมีจุดมุ่งหมายอะไร นั่นคือควรจะเน้นที่ส่วนครองตลาด ความเจริญเติบโต หรือกำไร
4.แสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรของบริษัทได้ถูกจัดสรรตามสินค้าต่างกันอย่างไรบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum