การกำหนดจุดประสงค์ของบริษัท (Setting company objective)

เราต้องพิจารณาจุดประสงค์ของบริษัท เพราะว่าบริษัทไม่สามารถที่จะเลือกโอกาสต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้

1.เพราะโอกาสบางประการไม่เหมาะสมกับบริษัท

2.บริษัทอาจจะไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะเลือกโอกาสทุกอย่างได้หมด

3.เพราะโอกาสต่าง ๆ นั้นไม่ใช่จะดึงดูดความสนใจมากเท่า ๆ กัน

บริษัทควารจะกำหนดจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการแนะนำให้บริษัทปฏิบัติหรือพยายามกระทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ใช่เพียงกำหนดว่าจุดประสงค์ของบริษัทคือกำไรแต่เพียงอย่างเดียว นักบริหารได้ให้ความสำคัญของ MBO (Managerment by objective) การกำหนดจุดประสงค์ให้ประโยชน์แก่องค์การ คือ

-ทำให้คนในองค์การรู้แนวทางการบริหารงานขององค์การนั้น

-ทำให้ผุ้จัดการต่าง ๆ ตัดสินใจโดยการยึดหลักตรงกัน

-จุดประสงค์ใช้เป็นหลักการวางแผนที่เฉพาะเจาะจง

-จุดประสงค์จะกระตุ้นความพยายามและความสำเร็จ

-จุดประสงค์จะเป็นแนวทางในการควบคุมการปฏิบัติงาน

จุดประสงค์ของบริษัทควรจะมีคุณภาพดี จุดประสงค์ที่ดีควรจะต้องมีลักษณะคือเป็นตามลำดับชั้น (Hierarchical) มีลักษณเชิงปริมาณ (Quantitaive) เป็นจริงได้ (Realistic) และมีความสอดคล้องมั่นคง (Consistent)

1.จุดประสงค์ที่มีความเป็นลำดับชั้น (Hierarchical) บริษัทหนึ่ง ๆ มักจะตั้งจุดประสงค์ไว้มากมายและแต่ละวัตถุประสงค์จะมีความสำคัญไม่เท่ากัน ดังนั้นควรที่จะเลือกจุดประสงค์ที่สำคัญเอาไว้อันดับแรก เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดที่จะต้องปฏิบัติ เช่น บริษัทต้องการเป็นผุ้นำตลาดภายใน 2 ปี

2.จุดประสงค์ที่มีลักษณะเชิงปริมาณ (Quantitative) บริษัทควรจะกำหนดจุดประสงค์เป็นตัวเลข เช่น การกำหนดว่าจะเพิ่มผลตอลทานจากการลงทุนยังไม่เป็นการเพียงพอ ถ้าเพิ่มเติมว่า ต้องการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนเป็น 7.5% ภายในปีที่ 2 จะดีกว่า ยิ่งกำหนดวัตถุประสงค์ให้เจาะจงมากเท่าใดยิ่งดี ในแง่ของขนาด ความสำคัญ เวลา และสถานที่ เพื่อจะได้วางแผนการพัฒนาการปฏิบัติงานและการควบคุมต่อไป

3.จุดประสงค์ที่ทำได้จริง (Realistic) การกำหนดวัตถุประสงค์ ต้องสามารถจะนำไปปฏิบัติได้ มิใช่กำหนดเท่าไรหรืออย่างใดก็ได้ จึงต้องมีการวิเคราะห์ถึงโอการและทรัพยากรของบริษัทด้วย

4.จุดประสงค์ที่มีความสอดคล้องมั่นคง (Consistent) บริษัทหลายแห่ง จะตั้งจุดประสงค์ไว้มากมาย เช่น ต้องการผลิตสินค้าคุณภาพดีที่จะทำให้ลูกค้าพอใจมากที่สุด โดยการได้ผลตอบแทนอย่างเพียงพอ และทำให้ส่วนครองตลาดของบริษัทโดยส่วนรวมเพิ่มขึ้น ตัวอย่างข้างต้นเป็นวัตถุประสงค์ที่ดี แต่จะสอดคล้องต้องกันหรือไม่ เช่น ผุ้จัดการมักจะตั้งจุดประสงค์ไว้ว่า จะขายให้ได้มากที่สุด กำไรมากที่สุด โดยเสียทุนน้อยที่สุด หรือต้องการผลิตสินค้าที่ดีที่สุดภายใจระยะเวลาสั้นที่สุด การที่ต้องการยอดขายเพิ่มมากขึ้น อาจจะต้องลดราคาลงบ้าง ปรับปรุ่งคุณาพสิ้นค้า เพิ่มความพยายามทางการตลาด ซึ่งนั้นคือกำไรต่อหน่อยอาจจะต้องลดลงบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum