การพัฒนากลยุทธ์การตลาด (Developing marketing strategy)

จะใช้ตัวอย่างอธิบายสถานการณ์ด้านการตลาดของอุตสาหกรรมเครื่องจักขนาดใหญ่เพื่อแสดงให้เห็นแนวความคิดของกลยุทธ์การตลาด

บริษัท International Harvester (IH) เป็นผู้ผลิตเครื่องมือเกษตรกรรม เครืองมือก่อสร้าง เครื่องขุดเจาะดินและหิน ซึ่งมียอดขายทั่วโลกเป็นจำนวนเงินกว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ด้านอุตสาหกรรม เครื่องจักรขุดเจาะนั้น IH ต้องแข่งกับบริษัทยักษ์ใหญ่ คือ Caterpiller,Allis-Chanlmers,Messey Ferguson และบริษัทอื่น ๆ อีก 2-3 บริษัท IHเชื่อว่าอุตสาหกรรมด้านนี้จะดำเนินไปด้วยดี จะมีการเจริญเติบโตอย่างเร็วในปีที่จะถึงนี้ เพราะสหรัฐอเมริกายังมีความต้องการที่เจาะดินเพื่อค้นหาน้ำมัน ต้องวางท่อสำหรับส่งน้ำมันจากมลรัฐอะแลสก้า (Alaska) ความต้องกรทั้วโลกในด้านพลังไฟฟ้ายังมีอีกมากมายนั่นหมายถึง ต้องกระทำธุรกิจการก่อสร้าง เพื่อสร้างเขื่อน และการขุดหาน้ำมันจากแร่ยูแรเนียมและถ่านหิน ส่วนที่ประเทศที่กำลังพัฒนาย่อมต้องการสร้างถนนไฮเวย์ สร้างบ้านพักและอื่น ๆ

ดังนั้นเมือ IH เห็นโอกาสอันดีในด้าน Intensive growth และสมมุติว่า IH กำหนดวัตถุประสงค์ คือ ต้องการเป็นผู้นำเหมือนกับบริษัท Caterpillar ในอุตสาหกรรมประเภทเครื่องมือขุดเจาะดิน ภายในปี 1984

จุดประสงค์ของ IH เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เพราะว่า Caterpillar ได้ครองตลาดส่วนใหญ่ในปัจจุบันตรายีห้อและเครื่องมือสีเหลืองของบริษัทนี้เป็นที่รู้จัก และเชื่อถือกันทั่วโลกว่าคุณภาพสินค้าเยี่ยมมาก แม้ว่าราคาจะแพงกว่าสินค้าของคู่แข่งขันประมาณ 5-10% ผู้ซื้อก็เต็มใจที่จะซื้อยี่ห้อ Caterpillar การบริการก็ดีที่สุดในอุตสาหกรรมประเภทนี้ ระบบการจัดจำหน่ายขยายกว้างขวาง และมีการรับประกันว่า สามารถจัดส่งอะไหล่ภายใน 24 ชั่วโมงให้กับที่ใด ๆ ในโลกก็ได้ ซื่งอะไหล่เป็นสิ่งจำเป็นมากในอุตสาหกรรมนี้ ผู้แทนจำหน่ายของ Caterpillar มีเงินทุนถึง 4-5 ล้านเหรียญ เทียบกับตัวแทนของ IH มีเพียง 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นผู้แทนของ Caterpillar จึงสามารถสต็อกอะไหล่ไว้ได้มากว่า สรุปได้ว่า Caterpillar มีข้อเปรียบเทียบที่เหนือกว่า IH และยากที่ใครจะทัดเทียมหรือตีเสมอได้

ต่อไปจะนำแนวความคิดกลยุทธ์ 5 ประการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกลยุทธ์การตลาด

1.การแบ่งส่วนการตลาด (Market segmentation)

ไม่มีบริษัทใดสามารถเสนอสินค้าชนิดเดียวให้กับทุกคนในตลาดพอใจได้ ฉะนั้นจึงควรแบ่งแยกตลาด แต่ละส่วนแบ่งตลาด จะมีโอกาสต่าง ๆ กัน บริษัทควรจะศึกษาโอกาสต่าง ๆ นั้นก่อนที่จะเริ่มวางตำแหน่งสินค้าของตน

จากตัวอย่างกรณีศึกษา เราสมมุติว่า IH สามารถแบ่งตลาดผู้ซื้อเครื่องมือก่อสร้าง ได้ดังนี้

ก.แบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ แม้ว่า Cateripllar จะขายสินค้าทั่วโลก แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะขายได้ดีเท่า ๆกันทุกประเทศ ดังนั้นงานของ IH คือ ต้องศึกษาดูว่าในประเทศใดบ้างที่กำลังพัฒนา และทำการก่อสร้างIHต้องศึกษางบประมานของงานนั้น ๆ และดูถึงโอกาสความเจริญเติบโต สำรวจดูว่ายี่ห้อ Caterpillar ยังไม่แข็งแกร่งในประเทศใดบ้าง และก็พิจารณาตลาดเหล่านั้นเป็นกรณีพิเศษ

ข.แบ่งตามตัวแปรของผู้ซื้อ (Buyer description variables) IH อาจจะแบ่งส่วนตลาดตามประเภทผู้ซื้อ เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทธุรกิจ หรือรัฐบาล เป็นต้น หรืออาจจะแบ่งตามขนาดของผู้ซื้อ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เป็นต้น

2.การวางตำแหน่งตลาด (Market positioning)

กลยุทธ์การตลาดขั้นที่ 2 คือ การเลือกตลาดที่จะให้โอกาสที่ดีที่สุด เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ ดังนั้นการที่จะแบ่งส่วนตลาดให้น่าสนใจที่สุด ควรจะมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้

2.1 ส่วนแบ่งตลาดนั้นต้องมีขนาดที่เพียงพอ

2.2 ส่วนแบ่งตลาดนั้นจะต้องมีแนวโน้มจะเจริญเติบโตต่อไปในอนาคต

2.3 ส่วนแบ่งตลาดนั้นจะต้องไม่มีคู่แข่งครองตลาดอยู่

2.4 ส่วนแบ่งตลาดนั้นยังไม่มีบริษัทใดสามารถสนองความต้องการแก่ลูกค้าได้เพียงพอ

ถ้าบริษัทตัดสินใจที่จะอยู่ในตำแหน่งผู้นำในส่วนแบ่งตลาดเดียวเท่านั้น เราเรียกกลยุทธ์นี้ว่า Single segment concentraton การเลือกแบบของตลาด บริษัท การพิจารณาสินค้าที่บริษัทจะผลิต ลูกค้าที่บริษัทจะบริการ และคู่แข่งที่บริษัทต้องเผชิญ

3.กลยุทธ์การเข้าตลาด (Marker entry strategy)

กลยุทธ์การตลาดแบบที่ 3 เป็นการพิจารณาว่าจะเข้าไปยังส่วนแบ่งตลาดเป้าหมายอย่างไร บริษัทอจจะใช้วิธี

ก. การได้มาเป็นกรรมสิทธิ์ (acquisition)

ข. การพัฒนาภายในบริษัท (internal development)

ค. การรวมกับบริษัทอื่น (Collaboration)

การได้มาเป็นกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริษัท เป็นวิธีที่ง่ายและเร็วในการเข้าสู่ตลาดใหม่ ไม่ต้องใช้เวลามากเพื่อสร้างความรู้ ทรัพยากร และชื่อเสียงภายในบริษัทเอง การได้มาเป็นกรรมสิทธิ์ควรจะประกอบด้วยแฟกเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้

ก. บริษัทที่ได้บริษัทอื่นมา เป็นผุ้ที่มีความรู้น้อยในอุตสาหกรรมนั้น

ข. บริษัทจะได้ประโยชน์มากโดยการเข้าสู่ตลาดใหม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ค. ถ้าบริษัทจะเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ด้วยการพัฒนาภายในบริษัทเอง จะต้องเผชิญกับปัญหายุ่งยาก เช่น มีหัญหาเรื่องการจัดช่องทางการจัดจำหน่าย ไม่มีการประหยัดเนื่องจากการผลิต (economies of scale) ต้องใช้จ่ายอย่างมากในด้านการโฆษณา ขาดวัตถุดิบหรืออื่น ๆ

แต่บางบริษัทชอบที่จะขยายกิจการโดยการพัฒนาภายใจบริษัทเอง นั้นคือบริษัทจะทำการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมาจากห้องทดลอง บริษัทคิดว่าการที่จะได้บริษัทอื่นมา อาจจะมีปัญหายุ่งยากหรือไม่มีบริษัทที่จะมารวมด้วย จึงใช้วิธีการปรับปรุงและพัฒนาภายในบริษัทดีกว่า

การเข้าสู่ตลาดใหม่หรือส่วนแบ่งตลาดใหม่ อาจจะได้มาโดยวิธีการรวมกับบริษัทอื่น ประโยชน์คือ ลดความเสี่ยงลง เพราะแต่ละบริษัทมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ประโยชน์อีกประการหนึ่ง คือ แต่ละบริษัทจะได้นำความชำนาญเฉพาะอย่าง หรือทรัพยากรที่อีกบริษัทหนึงบกพร่องมารวมกัน (joint venture combination) ซึ่งจะทให้ได้ประโยชน์มากขึ้น

4.กลยุทธ์ส่วนผสมการตลาด (Marketing – mix strategy)

ขันต่อไปคือ ต้องพิจารณาว่าจะกำหนดขอบเขตการเสนอสินค้าให้กับตลาดหมายอะไร นั้นคือต้องพิจารณาส่วนผสมการตลาด ซึ่งคือ กลุ่มของตัวแปรที่บริษัทสามารถควบคุมได้ และใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของผุ้ซื้อ

McCarthy ได้กำหนดส่วนผสมทางการตลาดไว้ 4 อย่างหรือคือ 4p’s นั้นเองซื้อได้แก่ Product,Price,Placeและ Promotion ตัวแปรต่าง ๆที่อยู่ภายใต้แต่ละ P แสดงได้ดังนี้

Product-สินค้า

คุณภาพ, คุณลักษณะ, แบบ, ตรายี่ห้อ, การหีบห่อ, สายผลิตภัณฑ์, การรับประกัน, การบริการระดับต่าง ๆ, บริการอื่น ๆ

Pricer-ราคา

ระดับต่าง ๆ, ส่วนลดและส่วนยอมให้, ข้อตกลงการจ่ายเงิน

Place-สถานที่

ช่องทางการจัดจำหน่าย, ตำแหน่งที่ตั้งร้านค้า, อาณาเขตขาย, ระดับสินค้าคงคลัง, การขนส่ง

Promotion-การส่งเสริมการจำหน่าย

การโฆษณา, การขายส่วนตัว, การส่งเสริมการขาย, การประชาสัมพันธ์

สมมุติว่า IH ต้องการเพิ่มการเจาะตลาดไปยังตลาดเล็ก ๆ ของเครื่องมือการก่อสร้างเพือที่จะเป็นบริษัทผู้นำในส่วนแบ่งตลาดนี้ เราพิจารณาตัวแปรเพียง 2 ประการคือ ราคาและคุณภาพสินค้า เราสามารถกำหนดตัวแปรแต่ละตัวให้อยู่ในระดับสูง ระดับกลางและระดับต่ำ เราจะได้กลยุทธ์ส่วนผสมการตลาดถึง 9 แบบด้วยกัน ตามตาราง

ราคาสูง

ราคาปานกลาง

ราคาต่ำ

คุณภาพสินค้าสูง

กลยุทธ์พรีเมี่ยม

กลยุทธ์การเจาะตลาด

กลยุทธ์ราคาดี

คุณภาพสินค้าปานกลาง

กลยุทธ์ราคาสูง

กลยุทธ์คุณภาพปานกลาง

กลยุทธ์ราคาพอควร

คุณภาพสินค้าต่ำ

กลยุทธ์ลวง

กลยุทธ์กำมะลอ

กลยุทธราคาต่ำ

กลยุทธ์ราคาพรีเมียม คือ การเสนอขายสินค้าที่มีคุณภาพดีในราคาที่สูง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ Caterpillar ใช้อยุ่ กลยุทธ์คุณภาพปานกลาง คือ การเสนอสินค้าระดับปานกลางด้วยราคาที่ปานกลางด้วย IH อาจใช้กลยุทธ์การเจาะตลาดได้ คือ สินค้ามีคุณภาพดี ราคาอยุ่ในระดับปานกลาง ถ้าผุ้ที่คาดว่าจะเป็นผุ้ซื้อแน่ใจว่าสินค้า IH มีคุณภาพดีเปรียบเทียบได้กับสินค้าของ Caterpillar แต่ราคาถูกกว่า 10 หรือ 15% ก็อาจจะทำให้ลูกค้าหันมาซื้อของ IH ได้

แต่ก่อนบริษัทจะเลือกกลยุทธ์ใด ควรจะได้มีการพิจารณาสถานการณ์ก่อนว่า

1.ผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้ซื้อต้องมั่นใจจริง ๆ ว่า สินค้าของ IH มีคุณภาพดีเท่า และสามารถปฏิบัติงานได้เหมือนกับของ Caterpillar ซึ่งวิธีการนี้อาจจะทำการแสดงให้ดูได้ยากและลูกค้าอาจจะถูกสงสัยได้ เพราะลูกค้ามักจะตัดสินใจว่าสินค้าประเภทนี้คุณภาพดีหรือไม่ดีจากราคา

2.ผุ้ที่คาดว่าจะเป็นผุ้ซื้อต้องรู้สึกว่า ส่วนผสมทางการตลาดส่วนอื่น เช่น การให้บริการของ IH นั้นดีพอ ๆ กับของคู่แข่งขัน ถ้าคู่แข่งสามารถรับประกันการซ่อมแซมภายใจเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น ณ ประเทศได้ในโลก แต่ถ้า IH สามารถรับประกันการซ่อมแซมได้ภายในเวลา 48 ชั่วโมง เช่นนี้อาจจะทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจ ยอมเสียเงินเพิ่มขั้นเพื่อซื้อสินค้าของคู่แข่ง

3.IH ต้องแน่ใจว่า Caterpillar จะไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกลยุทธ์การเจาะตลาดของ IH ด้วยการลดราคาให้ต่ำลง ซื้อเป็นทางหนึ่งที่บริษัทคู่แข่งมักจะกระทำ ถ้าเป็นเช่นนี้ IH จะไม่ได้ส่วนครอบครองตลาดเพิ่มขึ้น

4.IH ต้องตรวจสอบว่า กลยุทธ์ส่วนผสมการตลาดที่เสนอนั้น เปรียบเทียบได้กับกลุยทธ์ของคู่แข่งขัน บริษัทต้องแน่ใจว่าสามารถพัฒนาเครื่องมือที่มีคุณภาพดี และต้องมี economy of scale และมีเงินสดหมุนเวียนพอในการใช้กลยุทธ์การเจาะตลาด

5.กลยุทธ์จังหวะเวลา (Timing strategy)

กลยุทธ์สุดท้ายคือ จังหวะเวลา เมื่อบริษัทกำหนดโอกาสอันดีได้แล้ว กำหนดวัตถุประสงค์แล้ว และได้พัฒนากลยุทธ์การตลาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะกระทำได้ทันที บริษัทอาจเสียประโยชน์โดยการเข้าสู่ตลาดช้า หรือในทางตรงกันข้ามเร็วเกินไป การเข้าไปในจังหวะเวลาที่เหมาะสมเป็นกุญแจที่สำคัญเช่นกัน

กลับมาพิจารณากรณีของ IH ที่ได้ตัดสินใจว่า จะใช้วิธีการเจาะตลาด เครื่องมือก่อสร้างขนาดเล็ก ขั้นแรก ต้องเห็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องเริ่มกระทำ เพื่อใช้กลยุทธ์นี้ จะต้องมีการออกแบบเครื่องมือใหม่และต้องทำการทดสอบกับผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าว่าพอในหรือไม่ ต้องมีการสร้างโรงงาน ผู้จัดจำหน่ายต้องได้รับการอบรมอย่างดี ต้องเตรียมทำการส่งเสริมการขาย กิจกรรมเหล่านี้ต้องมีการประมาณเวลา เพื่อว่าผู้บริหารจะได้รู้ว่าควรจะใช้เวลาเท่าใดก่อนที่จะสามารถผลักสินค้าใหม่ได้จริง ๆ

อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงว่า เวลาที่จะออกสินค้าใหม่นั้นดีหรือไม่ เช่น เศรษฐกิจของประเทศกำลังอยู่ในภาวะรุ่งเรืองหรือซบเซา คู่แข่งมีท่าทีว่าจะต่อสู้หรือไม่ หรือจะต้องมีการพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าเพื่อการแก้ไขได้ทันท่วงที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum