การแสวงหาข้อมูล (Information search)

ถ้าการทำให้เกิดความต้องการ 1)มีมาก 2)มีสินค้าทำให้เกิดความพอใจ 3)อยู่ใกล้มือ คนก็จะรีบสนองความพอใจ เช่น คนที่หิว เมื่อเห็นขนมก็จะซื้อและรับประทานทันที แต่โดยมากแล้วการกระทำให้เกิดความต้องการจะไม่ได้รับความพอใจในทันที เพราะอาจจะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ข้อข้างต้น

เมื่อคนเรามีความร้องการมาก็จะพยายามค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งความต้องการขึ้นอยู่กับว่าเขากำลังเผชิญ limited problem solving หรือ extensive problem solving ในกรณีหลังเขาอาจต้องรู้ข้อมุลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่สำคัญของประเภทสินค้านั้น เกี่ยวกับคุณภาพของหลาย ๆ ตราสินค้า และเกี่ยวกับร้านค้าที่เขาจะหาซื้อได้

นักการตลาดควรสนใจแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคจะหา และอิทธิพลที่จะชักจูงพฤติกรรมการเลือกของเขา แหล่งข้อมูลที่ผู้บริโภคแสวงหาแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือ

1.Personal sources เช่น เพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้าน ผู้ใกลิชิด

2.Commercial sources เช่น โฆษณาวิทยุและโทรทัศน์

3.Public sources เช่น สื่อสารมวลชน

4.Experiential sources เช่น ผู้ที่เคยใช้สินค้า

ความสำคัญของแหล่งข้อมูลจะแตกต่างตามชนิดของสินค้าและลักษณะผู้ซื้อ โดยส่วนมากผู้บริโภคจะได้ข้อมูลต่าง ๆ จากการดูโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่บางคนหรือสินค้าบางประเภท อาจจะต้องใช้วิธีหาข้อมูลต่าง ๆ จากการถามผู้ที่เคยใช้สินค้านั้น

นักการตลาดควรจะรู้ว่า สินค้าประเภทนี้ผู้บริโภคมักจะไปหาแหล่งข้อมูลจากที่ใด เช่น ยาสีฟัน สบู่ ผุ้ซื้อมักจะได้ข้อมูลจากการโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์ ส่วนรถยนต์ผู้ซื้ออาจจะต้องสอบถามจากผู้ที่เคยใช้ เราอาจจะทราบแหล่งข้อมูลจากการทำการวิจัย สัมภาษณ์ผู้บริโภคและถามว่าได้ยินแหล่งข่าวจากที่ใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum