จากทฤษฎีราคา สมมุติตัวแปรผันทางการตลาดอื่น ๆ คงที่ ณ ระดับหนึ่ง ในขณะที่ระดับราคาต่าง ๆ จะมีผลต่อระดับการขายไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของปริมาณการขาย (Q) และราคา (P) แต่ต้องคำนึงถึงว่า ควรจะกำหนดค่าใช้จ่ายการโฆษณา การขายส่วนตัว คุณภาพสินค้า และตัวแปรการตลาดอื่น ๆ อย่างไร ก่อนที่จะกำหนดราคาดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า ตัวแปรทางการตลาดต่าง ๆ ควรจะได้รับการพิจารณาก่อนที่จะหาส่วนผสมที่ดีที่สุด ซึ่งในทฤษฎีราคาไม่ได้สนใจ หรืออาจจะเลยความจริงข้อนี้ไป
ปัญหาของการประมาณอุปสงค์และฟังก์ชั่นตันทุน (the problem of estimating demand and cost function)
ในกรณีที่เป็นสินค้าใหม่ เราไม่สามารถหาสถิติตัวเลขเพื่อมาประมาณอุปสงค์และต้นทุนได้ นอกจากจะหาได้จากตัวเลขสถิติของสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือสินค้าที่ผลิตอยู่แล้ว ซึ่งการประมาณมักจะได้มาในรูปของการเดา และเอามาจากความจริงเพียงเล็กน้อยมาประกอบกัน แม้ว่าจะได้มาจากข้อมูลที่มีอยู่ แต่การพิจารณาฟังก์ชั่นอุปสงค์ยาก เพราะตัวแปรไม่สามารถหาเป็นตัวเลขได้และมันเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เช่น ยอดขายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการโฆษณา และบางครั้งการโฆษณามากหรือน้อยก็ขึ้นกับยอดขาย ปัญหาอีกกรณีหนึ่ง คือ เหตุการณ์สมัยก่อนอาจจะใช้ไม่ได้กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากการประมาณอุปสงค์ และต้นทุน มีข้อผิดพลาดมาก การที่จะตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดนั้น ควรจะเปลี่ยนเป็นการคาดหวังที่จะได้กำไรสูงสุดมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น