กำหนดราคาตามคู่แข่งขัน (Competition-oriented pricing)

วิธีการจัดตั้งราคาตามคู่แข่งนี้ ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องหมายความว่า เราจะจัดตั้งราคาให้เหมือนกับของคู่แข่งขัน เพียงแต่ว่าแทนที่จะเอาต้นทุนหรือความแปรผันของอุปสงค์เป็นหลักในการกำหนดราคา เราถือเอาปฏิกิริยาของคู่แข่งขันเป็นหลักในการปรับราคาของเรา ถ้าคู่แข่งขันของเราขึ้นราคาเราก็ขึ้นราคาด้วย ทั้ง ๆ ที่ราคาของเราอาจจะสูงกว่าอยู่แล้ว ในขณะเดียวกัน ถ้าคู่แข่งขันของเราลดราคา เราก็ลดตามด้วย

วิธีของการกำหนดราคาตามคู่แข่งขันที่นิยมมากที่สุดคือ การกำหนดในแนวเดียวกันกับของบริษัทอื่น ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน (going rate) ผลดีของการตั้งราคาวิธีนี้คือ
ก.ความเป็นของหลาย ๆ บริษัทในอุตสาหกรราย่อมเป็นแนวโน้มที่ดี
ข.การกำหนดราคาในราคาเดียวกันจะช่วยพยุงเสถียรภาพ
ค.การกำหนดราคาวิธีนี้จะช่วยกำจัดปัญหาของการคาดคะเนปฏิกิริยาของคู่แข่งขัน และผู้บริโภค ถ้าเรากำหนดราคาที่แปลกไปจากคนอื่น

วิธีของการกำหนดราคาตามคู่แข่งขันอีกวิธีหนึ่ง คือ การจัดตั้งราคาในการปิดซองประมูล ซึ่งต้องทำการคาดคะเนปฏิกิริยาของคู่แข่งขัน การเสนอราคาวิธีนี้กระทำด้วยจุดประสงค์ที่จะชนะการประมูลมากกว่าเหตุผลอื่น ๆ ดังนั้นการใช้วิธีนี้ผู้ประมูลจึงพยายามจะตั้งราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งขันใด ๆ เพื่อชนะประมูล การเสนอราคาการปิดซองประมูล อาจจะทำได้โดยวิธีการคาดคะเนผลตอบแทนที่จะได้รับ เช่น สมมุติในการเสอนราคาประมูล 9,500 บาท ซึ่งจะนำกำไรมาสู่เรา 100 บาท แต่โอกาสที่จะได้นั้นมาก คือ .81 ผลตอบแทนที่จะได้รับคือ 81 บาท หรือในกรณีที่ราคาประมูลเท่ากับ 11,000 บาท และผลกำไรที่จะได้รับคือ 1,600 แต่โอกาสที่จะได้นั้นเพียง .02 เพราะฉะนั้นผลตอบแทนที่ได้รับคือ 32 บาท

จากตัวอย่างในตาราง แสดงให้เห็นว่า ราคาประมูลที่จะนำผลกำไรมากที่สุด คือ ราคา 10,000 บาท ซึ่งจะได้ผลตอบแทนถึง 216 บาท บางครั้งการประมูลต้องใช้วิธีการเดา โดยหาข้อมูลของบริษัทที่เข้าแข่งขันการประมูล แต่มักจะทำได้ยาก เพราะว่าคู่แข่งขันพยายามปิดเป็นความลับ ดังนั้นอาจทำได้โดยหาข้อมูลจากการผระมูลครั้งที่ผ่าน ๆ มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum