ปัญหาของกลุ่มที่เกี่ยวข้อง (The problem of multiple parties)

การตั้งราคาตามทฤษฏีได้สมมุติว่า กลุ่มที่บริษัทควรจะให้ความสำคัญในการพิจารณากำหนดราคาสินค้า คือ ลูกค้าบริษัทแต่เพียงอย่างเดียว แต่ในทางปฏิบัติ ยังมีอีกหลายกลุ่มที่จะต้องพิจารณาเรียงตามลำดับต่อไปนี้
-ลูกค้าคนกลาง
(Intermediate customer) ผู้ผลิตควรจะตั้งราคาโดยคำนึงถึงผลพวงลูกค้าคนกลางด้วย มิใช่เฉพาะผู้บริโภคคนสุดท้ายเท่านั้น บางบริษัทจะตั้งราคาสำหรับพ่อค้าคนกลางและให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้พิจารณากำหนดราคาสุดท้ายเอง สถานการณ์เช่นนี้จะทำได้ต่อเมื่อพ่อค้าคนกลางแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะพิจารณาว่าราคาใดเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นใด และจะตั้งราคาเพื่อให้เกิดสิ่งจูงใจในการขายที่เยงพอ ข้อเสียคือผู้ผลิตไม่มีอำนาจใจการควบคุมราคาสุดท้าย อีกกรณีหนึ่งคือ ผู้ผลิตพิจารณาราคาสุดท้ายและกำหนดกำไรที่พ่อค้าคนกลางควรจะได้ และจะต้องเพียงพอที่จะจูงใจให้เขาขายสินค้า พ่อค้าคนกลางต้องเข้าใจว่า สิ่งจูงใจที่สำคัญไม่ใช่ความแตกต่างระหว่างราคาของพ่อค้ากับราคาสุดท้าย แต่จะเป็นกำไรคูณด้วยจำนวนที่ขายได้ ซึ่งจะเป็นผลมาจากราคาสุดท้ายนั่นเอง
-คู่แข่งขัน
(Rival) การตั้งราคาตามทฤษฎีไม่ได้พิจารณาปฏิกิริยาของคู่แข่งขัน อาจมีผู้แย้งว่า สามารถสมมุติปฏิกิริยาคู่แข่งขันได้จากฟังก์ชันอุปสงค์ แต่การกระทำเช่นนี้เป็นลักษณะปฏิกิริยาคู่แข่งที่อยู่ในรูปคงที่ ราคาที่ผู้ผลิตกำหนดขึ้น จะชักจูงให้คู่แข่งขันเข้ามามากหรือน้อยก็ได้ การกำหนดปฏิกิริยาคู่แข่งจากเส้นอุปสงค์ค่อนข้างรวมรัด และเป็นอุปสรรคต่อนโยบายราคา
-ผู้จัดจำหน่ายวัสดุ
(Suppliers) ควรจะต้องพิจารณาถึงผู้จำหน่ายวัสดุ แรงงาน และแหล่งเงินทุนของบริษัทด้วย ผู้จัดจำหน่ายวัสดุหลายคนมักจะเข้าใจ หรือแปลความหมายของราคาสินค้าเหมือนเป็นตัวชี้ระดับรายได้ของบริษัท ซึ่งคือ กำไรจากสินค้านั้น สหภาพแรงงานอาจจะเห็นว่า ถ้าราคาสินค้าสูงหรือการขึ้นราคาสินค้า จะทำให้คนงานได้ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น หรือชาวนาคิดว่าเขาควรจะได้ราคาค่าวัวสูงขึ้นถ้าราคาขายปลีกของเนื้อวัวสูง ดังนั้นบริษัทต้องพิจารณากลุ่มผู้จัดจำหน่ายวัถุดิบต่าง ๆ ในการตั้งราคาด้วย
-รัฐบาล
(Government) เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะรัฐบาลออกกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับราคา เช่น พระราชบัญญัติห้ามค้ากำไรเกินควร หรือกฎหมายการควบคุมการกำหนดราคาขายปลีก เป็นต้น ฉะนั้นในการกำหนดราคาต้องคำนึงถึงกฎหมายด้วย
-ผู้บริหารอื่น ๆ ในบริษัท
(Other company executive) การกำหนดราคาเกี่ยวข้องกับผู้บริหารกลุ่มต่าง ๆ ภายในบริษัทด้วย ผู้จัดการขายต้องการตั้งราคาให้ค่อนข้างต่ำ เพื่อว่าพนักงานขายจะสามารถขายสินค้าได้ ผู้จัดการฝ่ายการเงินต้องการที่จะเห็นว่าราคาที่กำหนดไว้ควรจะสามารถทำเงินกลับคืนมาได้โดยเร็ว ราคาจะมีผลต่อผู้จัดการโฆษณาในด้านการสร้างบทโฆษณาและการเลือกสื่อโฆษณา ผู้จัดการผลิตก็สนใจเรื่องราคาเพราะจะมีผลต่ออัตราการขาย ดังนั้นการกำหนดราคาควรจะต้องได้รับการพิจารณาไตร่ตรองจากผู้บริหารหลาย ๆ ด้านด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum