การจัดองค์การที่มีประสิทธิภาพ

การจัดองค์การเพื่อดำเนินการพัฒนาสินค้าใหม่อาจแบ่งได้เป็น 5 แบบต่าง ๆ กันดังนี้
1.ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ (Product managers) หลายบริษัทจะให้ผู้จัดการผลิตภัณฑ์มีหน้าที่ในการหาสินค้าใหม่ ๆ ในทางปฏิบัติระบบนี้มีข้อผิดพลาดหลายประการ คือ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่บริหารสายผลิตภัณฑ์ที่เขารับผิดชอบอยู่ จนไม่มีเวลามาคิดหาสินค้าใหม่ ๆ นอกจากจะปรับปรุงแต่งเติมหรือขยายสินค้าเดิม และเขามักจะขาดทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการที่จะพัฒนาสินค้าใหม่ให้ประสบความสำเร็จ
2.ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product managers) บางครั้งอาจเรียกตำแหน่งนี้ว่าผู้วางแผนผลิตภัณฑ์ (Product planer) ซึ่งผู้นี้จะรายงานต่อกลุ่มผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งนี้จะทำหน้าที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ตำแหน่งนี้ยังไม่มีอำนาจเพียงพอ หรือไม่ได้รับการสนับสนุนจากระดับบริหารชั้นสูงในหลายบริษัท
3.กรรมการผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product committees) บริษัทส่วนใหญ่มีคณะกรรมการบริหารระดับสูงทำหน้าที่พิจารณาข้อเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากฝ่ายการตลาด โรงาน การเงิน วิศวะกรรม บัญชีและหน้าที่อื่น งานของกรรมการชุดนี้ไม่ใช่งานพัฒนาสินค้าใหม่ แต่เป็นการประสารงานของงานพัฒนา เช่น ในด้านการพิจารณาและอนุมัติแผนการพัฒนาสินค้าใหม่ กรรมการชุดนี้มักจะเป็นผู้มีความคิดค่อนข้างสมัยเก่า กรรมการแต่ละท่านก็มีงานล้นมือ
4.แผนกผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product departments) บริษัทใหญ่ ๆ มักจะตั้งเป็นแผนกผลิตภัณฑ์ใหม่ และมีหัวหน้าแผนซึ่งมีอำนาจหน้าที่เพียงพอและสามารถเข้าถึงระดับผู้บริหารชั้นสูง ปกติเขาจะรายงานให้กับหัวหน้าผู้บริหาร หรือ รองประธานกรรมการฝ่ายการตลาด ความรับผิดชอบส่วนใหญ่ของแผนกนี้ รวมถึงการคิดค้นและคัดเลือกกลั่นกรองความคิดใหม่ ๆ จัดทำและประสานงานการวิจัยและงานพัฒนา ตลอดจนทำการสำรวจตลาด และวางแผนตลาดก่อนวางตลาดจริง
5.ทีมงานผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product venture team) บริษัทบางแห่งในต่างประเทศจะไม่เรียกแผนกผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่เรียกว่าทีมงานผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มที่มาจากแผนกดำเนินงานต่าง ๆ และมีหน้าที่รับผิดชขอบในการนำสินค้าออกสู่ตลาด หรือมีหน้าที่หาธุรกิจใหม่ ๆ กลุ่มทีมงานผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จะมีความชำนาญเฉพาะด้านและมีความกระตือรือร้น

ความจริงที่ปรากฏคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จะมีอัตราที่ล้มเหลวสูง ผู้รับผิดชอบให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องพยายามทำให้ทุกคนในองค์กรเชื่อว่า ความคิดสินค้าใหม่นั้นดี บางครั้งเขาต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย เมื่อไปเจรจากับฝ่ายต่าง ๆ ฝ่านั้นอาจจะต่อรองความคิดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของฝ่ายนั้น ๆ เช่น ฝ่ายทำหน้าที่ด้านการหีบห่ออาจจะต้องต่อรองในเรื่องการหีบห่อดังที่แผนกเขาต้องการ ฝ่ายจัดซื้อวัสดุอาจจะต่อรองในส่วนผสมที่จะใช้ซึ่งถูกกว่า เป็นต้น เมื่อเป็นตัวสินค้าขึ้นมาจึงไม่ดีเท่าที่ควร เพราะฝ่ายต่าง ๆ นั้นเอง

บริษัทต้องจัดการเรื่ององค์การให้ดีที่จะไม่ทำให้เกิดการกระจายในความรับผิดชอบกับแผนกต่าง ๆ มากนัก เพราะจะทำให้เกิดผลเสียได้ดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum