การค้นหาความคิดสินค้า (Idea generation)

การค้นหาความคิดใหม่ ๆ เป็นขั้นแรกของขบวนการพัฒนาสินค้าใหม่ ซึ่งจะต้องทำการสำรวจหาเทคนิคที่จะปรับปรุงการพัฒนาสินค้าที่ดี และกำจัดความคิดสินค้าที่ไม่ดีออกไปเสียตั้งแต่ขั้นต้น การค้นหาความคิดสินค้า ควรจะเป็นสินค้าที่จะสามารถผลิตได้ และคิดว่าสามารถขายได้

มีบริษัทอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ทำการค้นหาความคิดสินค้าใหม่ ๆ ขั้นมาอย่างเป็นทางการ แต่จะนำความคิดจากหลาย ๆ แหล่ง ทั้งภายนอกและภายในบริษัทมารวมกัน บางบริษัทจะใช้ขบวนการคันหารอย่างเป็นระบบขึ้นมา เช่น บริษัทผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา จัดระบบการค้นหาสินค้าใหม่โดยให้คณะผู้บริหารในบริษัทไปพักผ่อนเที่ยวปิกนิกตอนวันสุดสัปดาห์ เพื่อจะได้ความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับเครื่องใช้ในครัวเรือน หรือได้ความคิดในการดัดแปลงเพื่อสินค้าใหม่

แหล่งของความคิดสินค้าใหม่ (Sources of new product ideas)

แหล่งความคิดที่สำคัญได้แก่ ลูกค้า นักวิทยาศาสตร์ คู่แข่งขัน พนักงานขายและตัวแทนจัดจำหน่ายของบริษัท และผู้บริหารชั้นสูง

ลูกค้า (Customer) แหล่งของความคิดสินค้าใหม่ คือ ลูกค้า บริษัทอาจจะสอบถามความต้องการของลูกค้าได้หลายวิธีคือ
ก.ทำการสำรวจจากลูกค้าโดยตรง
ข.ทำการทดสอบโดยการคาดคะเน
ค.จัดกลุ่มสัมมนา
ง.การรับจดหมายแนะนำจากลูกค้า

นักวิทยาศาสตร์ (Scientists) บางบริษัทจะค้นควาความคิดสินค้าจากห้องทดลอง ห้องวิจัย บางบริษัทจะค้นพบสินค้าใหม่ เนื่องจากเป็นผลพลอยได้ของการผลิตสินค้าเดิม หรือทำการดัดแปลงสินค้าใหม่

คู่แข่งขัน (Competitor) บางบริษัทจะคอยเผ้าดูสินค้าใหม่ที่คู่แข่งขันออกมาและนำมาเลียนแบบหรือปรับปรุงใหม่

พนักงานขายและตัวแทนจำหน่าย (Salesman and dealers) ทั้ง 2 เป็นแหล่งที่ดีของแนวความคิดสินค้าที่ดี เพราะเป็นผู้ใกล้ชิดกับลูกค้า ได้ฟังการบ่น หรือความต้องการจากลูกค้า

ผู้บริหารของบริษัท (Top management) ผู้บริหารระดับสูงสามารถช่วยหาสินค้าใหม่ ๆ ที่บริษัทสนใจ และคิดว่าจะสามารถทำให้บริษัทเจริญเติมโต หรือแข็งแกร่งขึ้นได้ หรือเพือช่วยให้บริษัทสามารถชนะจุดอ่อนของบริษัทเองได้

เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหาความคิด (Idea-generation devices) ความคิดสินค้าที่ดีควรจะเกิดมาจากสิ่ง 3 ประการ คือ ความคิดดลใจ ความเหนื่อยยาก และวิธีการ มีผู้พยายามค้นหาเทคนิคที่จะช่วยให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้
1.การแจกแจงรายละเอียด คุณค่าหรือลักษณะของสินค้า (Attribute list) เทคนิคนี้คือการเขียนคุณลักษณะต่าง ๆ ของสินค้านั้น และลองใช้ความคิดที่จะดัดแปลงคุณลักษณะต่าง ๆ นั้น เพื่อค้นหาสิ่งที่ดีในการปรับปรุงสินค้า ลองพิจารณาตัวอย่างของเหล็กไขควง ลักษณะของสินค้านี้ คือ กลม ก้านไขควงทำด้วยเหล็ก ด้ามถือเป็นไม้ ใช้งานโดยมือ ต้องใช้มือหมุนจึงจะได้กำลังบิด นี่คือลักษณะหรือคุณสมบัติของไขควง ต่อมาลองคิดเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะเหล่านี้ เพื่อให้คนสนใจหรือพอใจมากขึ้น ก้านไขควงที่เป็นรูปกลม ๆ อาจจะดัดแปลงเป็นรูปแบบหกเหลี่ยมเพื่อให้มีกำลังดีขึ้น หรืออาจจะคิดใช้กำลังไฟฟ้าแทนกำลังมือ หรือเปลี่ยนกำลังบิดมาเป็นกำลังผลักแทน นายออสบอร์น ได้แนะวิธีการกำหนดคำถาม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะดังนี้คือ
-นำไปใช้อย่างอื่นได้หรือไม่ โดยการหาวิธีใหม่ ๆ หรือถ้าดัดแปลงไปใช้ในด้านอื่นจะได้หรือไม่
-จะดัดแปลง
(modify) โดยการเปลี่ยนแปลงสี รูปร่าง เสียง หรืออื่น ๆ
-ขยาย
(magnify) เพิ่มอะไรได้อีก ทำให้แข็งแรงขึ้น สูงขึ้น หรือยาวขึ้น
-หด
(minify) ตัดให้เล็กลง ย่อส่วน ทำให้เบาขึ้น
-ทดแทน
(substitute) อะไรบ้างที่จะมาทดแทน ใช้ส่วนผสมอื่นได้ไหม วิธีการอื่น ๆหรือขบวนการใหม่ ๆ
-การจัดการใหม่
(Rearrange)
-การนำมารวมกัน (combine)

2.การพยายามนำความคิดต่าง ๆ มาสัมพันธ์กัน (Forced relationship) วิธีการนี้เป็นการเขียนความคิดต่าง ๆ มากมาย และพิจารณาว่าแต่ละอันจะมามีส่วนสัมพันธ์กันได้หรือไม่ เพื่อที่จะทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่นผู้ผลิตเครื่องใช้สำนักงาน จะเขียนรายชื่อสินค้าต่าง ๆ ที่ผลิต เช่น โต๊ะ ตู้ที่ใส่แฟ้ม ที่ใส่หนังสือ เก้าอี้ เป็นต้น และเขาจะพยายามนำสินค้าต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์กันและใช้ความคิดออกแบบโต๊ะใหม่ ที่จะให้มีที่ใส่หนังสืออยู่ในโต๊ะด้วย หรือเขาอาจจะได้ความคิดใหม่โดยทำโต๊ะที่มีลิ้นชักสำหรับใส่แฟ้มเอกสารด้วย แทนที่จะเป็นลิ้นชักธรรมดา เป็นต้น

3.การจัดกลุ่มเพื่อระดมความคิด (Brainstorming) คนเราอาจถูกกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้โดยการจัดกลุ่มขึ้นมา เทคนิคนี้เรียกว่า brainstorming วิธีการก็เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน คือ เพื่อระดมผลิตความคิดต่าง ๆ โดยทั่ว ๆ ไป จำนวนคนใจกลุ่มจะมีขนาดระหว่าง 6 ถึง 10 คน การที่ไม่มีจำนวนมากกว่านี้ เพราะถ้ามีผู้เชี่ยว่ชาญในกลุ่มมากเกินไป จะทำให้การมองปัญหาแบบเดียวกันหมด ปัญหาควรจะทำให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ควรจะมีมากกว่าหนึ่งปัญหา ช่วงเวลาสนทนาความจะนานประมาณ 1 ชั่วโมง ซึงอาจจะเป็นตอนใดก็ได้ในวันนั้น แต่ในช่วงเวลาตอนเช้าจะเป็นเวลาที่ดีที่สุด ระบบนี้จะทำได้ดีในบริษัทโฆษณา ซึ่งจะมีกลุ่ม brainstorming มากว่า1 กลุ่ม เมื่อลูกค้ามีปัญหา ผู้บริหารก็จะให้กลุ่มนี้ทำการแก้ปัญหา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum