การวางแผนผลิตภัณฑ์ (Product planning)

เมื่อผู้บริหารระดับสูงตั้งจุดประสงค์ยอดขายและกำไรแล้ว จะติดต่อกับผู้จัดการสินค้าเพื่อให้จัดทำจุดประสงค์สินค้าและแผนงานของเขาเองในการที่จะทำให้บริษัทได้บรรลุจุดประสงค์ประจำปีของบริษัทที่ตั้งไว้ เมื่อแผนงานเสร็จแล้ว รองประธานฝ่ายการตลาดจะเป็นผู้ทบทวนแผนงานนั้น

แผนงานการตลาดของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกัน แต่แผนงานที่ดีควรประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 4 ประการ คือ
1.ประวัติสินค้า
2.การพยากรณ์ยอดขายและกำไร
3.การพัฒนากลยุทธ์
4.การทำแผนและการควบคุม

ประวัติสินค้า (Proruct background)

ในการวางแผนสินค้า ต้องดูว่าสินค้ามีตำแหน่งอยู่ ณ จุดไหน นั่นคือ จะเลือกสถิติที่สำคัญของสินค้าขึ้นมาพิจารณา ดังรายการที่จะเสนอต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างตัวเลขทางสถิติที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผน ซึ่งเป็นตัวเลขของปี 2005-2009

ตัวเลขประวัติสินค้า

2005

2006

2007

2008

2009

1

ความต้องการตลาดรวม

1,000,000

1,200,000

1,400,000

1,600,000

1,800,000

2

ส่วนครองตลาด

.06

.08

.10

.10

.10

3

ราคาต่อหน่วย

2.00

2.00

2.00

2.20

2.40

4

ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย

1.20

1.10

1.10

1.30

1.55

5

กำไรขั้นต้นต่อหน่วย (3-4)

.80

.90

.90

.90

.85

6

ยอดขาย(หน่วย)(1x2)

60,000

96,000

140,000

160,000

180,000

7

ยอดขาย(บาท)(3x6)

120,000

192,000

280,000

352,000

432,000

8

กำไรขั้นต้น (5x6)

48,000

86,400

126,000

144,000

153,000

9

ค่าโสหุ้ย,จิปาถะ

20,000

20,000

20,000

30,000

30,000

10

กำไรขั้นต้นรวม (8-9)

28,000

66,400

106,000

144,000

123,000

11

ค่าโฆษณา

8,000

12,000

15,000

18,000

20,000

12

ค่าจัดจำหน่ายสินค้า

4,000

8,000

15,000

15,000

20,000

13

กำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (10-11-12)

16,000

46,400

76,000

81,000

83,000

แถวที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ยอดขายของตลาดเพิ่มขึ้นปีละ 200,000 หน่วย
แถวที่
2 แสดงให้เห็นว่า บริษัทได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจาก 6% เป็น 8% และ 10% คงที่ 3 ปี
แถวที่
3 แสดงให้เห็นว่า ราคาสินค้าเดิม 2 บาท และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 2.40 บาท
แถวที่
4 แสดงให้เห็นว่า ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย ลดลงในตอนแรก แต่เริ่มขึ้นอีกในปีที่ 4 และปีที่ 5
แถวที่ 5 แสดงให้เห็นว่า กำไรขึ้นต้นต่อหน่วย ตอนแรกเพิ่มขึ้นและลดลงในปีต่อมา
แถวที่
6และ 7 แสดงให้เห็นว่า เป็นยอดขายต่อหน่วย และต่อจำนวนเงิน
แถวที่
8 แสดงให้เห็นว่า เป็นกำไรขั้นต้นรวม
แถวที่
9 แสดงให้เห็นว่า เป็นค่าโสหุ้ยซึ่งในระยะแรกคงที่ แต่ต่อมาค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
แถวที่
10 แสดงให้เห็นว่า เป็นกำไรขั้นต้นรวมหักค่าใช้จ่ายโสหุ้ย
แถวที่ 11-
12 แสดงให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายโฆษณา และการจัดจำหน่ายสินค้า ตามลำดับ
แถวที่
13 แสดงให้เป็นว่า แสดงถึงกำไรหลังจากการดำเนินงาน ซึ่งแถวนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตของยอดขาย คือ กำไร ซึ่งกำลังเจริญขึ้นในอัตราที่ช้า

ในช่วงแรกของแผนงานนี้ควรจะมีข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับคู่แข่งขันรายสำคัญในด้านที่เกี่ยวกับราคา ต้นทุนผันแปร ส่วนแบ่งตลาด และค่าใช้จ่ายทางการตลาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum