การวัดประสิทธิผลของการโฆษณา (Measuring Advertinsing Effectiveness)

การวัดประสิทธิผลของการโฆษณา มักเกี่ยวกับการโฆษณาที่เจาะจง แคมเปญการโฆษณาโดยส่วนมาก บริษัทโฆษณามักจะทำการทดสอบการโฆษณาก่อนที่จะออกโฆษณานั้นแก่สาธารณะมากว่าที่จะทำการทดสอบการโฆษณาหลังจากได้เผยแพร่โฆษณาทางสื่อต่าง ๆ แล้ว
เทคนิคการวิจัยที่ใช้ในการวัดประสิทธิผลการโฆษณาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้โฆษณาว่าต้องการจะวัดผลอะไร โดยทั่วไปการวัดประสิทธิผลการโฆษณามักจะวัดประสิทธิผลทางการสื่อสาร
(Communication effect) การวัดประสิทธิผลการสื่อสารเป็นความพยายามที่จะค้นหาว่าการโฆษณามีผลได้ในด้านการสื่อสารอย่างที่ต้องการหรือไม่ การประเมินผลทำได้โดยการทดสอบบทโฆษณา (Copy testing) ซึ่งอาจทำก่อนหรือหลังการออกสื่อโฆษณาก็ได้ สำหรับการทดสอบการโฆษณาก่อนว่า การออกสื่อนั้น มีจุดประสงค์ที่จะปรับปรุงการโฆษณาให้ดีที่สุดก่อนะเผยแพร่ การทดสอบขั้นต้นทำได้ 3 วิธี

1.การให้คะแนนโดยตรง คือ การให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เลือกมา หรือผู้เชี่ยวชาญทางการโฆษณาพิจารณาการโฆษณานั้น แล้วให้คะแนนตามความเหมาะสม หัวข้อที่จำมาพิจารณาได้แก่ ความสามารถในการเรียกร้องความสนใจ ความชัดเจนของข้องความโฆษณา ความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อ วิธีการนี้มีกฎเกณฑ์ว่า บทโฆษณาที่มีประสิทธิภาพควรจะคะแนนสูงในทุกหัวข้อที่พิจารณา อย่างไรก็ตามวิธีการนี้เชื่อถือได้น้อย แต่วิธีนี้ก็สามารถช่วยคัดเลือกโฆษณาที่ไม่ดีออกไป

2.การทดสอบความจำ คือ การให้ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ดูภาพโฆษณาเป็นจำนวนมาก และให้เวลาพิจารณาอย่างเพียงพอแก่ความต้องกร หลังจากนั้นก็จะวางภาพโฆษณานั้นลง และผู้สัมภาษณ์จะถามถึงภาพโฆษณาที่เขาจำได้ ซึ่งผลที่ได้ช่วยให้ทราบได้ว่า โฆษณาใดเด่นและทำให้คนจำได้ตลอดจนเข้าใจเนื่อหาโฆษณาที่ผู้โฆษณาต้องการจะบอก

3.การทดสอบความจำในห้องทดสอบ ผู้วิจัยบางคนวัดประสิทธิผลของการโฆษณา โดยการวัดปฏิกิริยาทางร่างกายของผู้ดูโฆษณา เช่น หัวใจเต้น ความดันของเลือด การหายใจ เป็นต้น การทดสอบทางจิตวิทยานี้ใช้ได้เพื่อวัดความสนใจที่ได้ และวัดความสามารถของโฆษณาที่กระตุ้นผู้ดู

1.การทดสอบความระลึกได้ คือ การหาบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและเป็นผู้ที่ดูสื่อโฆษณาหนึ่งที่ผู้โฆษณาใช้ เช่น โทรทัศน์ นิตยสาร หรือวิทยุ เป็นต้น และให้เขาอธิบายถึงโฆษณาที่เรากำลังทดสอบอยู่ ซึ่งผลที่ได้นั้น จะช่วยชี้ให้เห็นว่าการโฆษณานี้เป็นที่สังเกตเห็นและอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคหรือไม่

2.การทดสอบความระลึกได้ วิธีนี้หาผุ้ที่ดูสื่อโฆษณาที่ใช้และให้เขาอธิบายว่าจำอะไรได้บ้าง สิ่งที่ควรจำไว้คือ วิธีการวัดนี้เป็นการวัดความสนใจและประสิทธิผลการสื่อสารของโฆษณา มิใช่การวัดผลกระทบต่อทัศนคติหรือพฤติกรรม

การเลือกสื่อโฆษณา (Media Selection)

การเลือกสื่อโฆษณา (Media Selection)

หน้าที่ที่สำคัญของโฆษณาก็คือการตัดสินใจเลือกสื่อที่ดีที่สุด ที่จะนำสารโฆษณาไปสู่ตลาดเป้าหมาย สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้โฆษณาอย่างได้มากที่สุด คือ การเข้าถึง (Reach) ความถี่ (Frequency) ผลกระทบ (impact) และความต่อเนื่อง (continuity) ในงบประมาณโฆษณาที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ผู้โฆษณาควรจะต้องทราบถึงอุปนิสัยการใช้สื่อของตลาดเป้าหมายคุณภาพและต้นทุนของสื่อต่าง ๆ

การเลือกสื่อหลัก

บริษัทจะเลือกสื่อโฆษณา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

1.อุปนิสัยการใช้สื่อของตลาดเป้าหมาย เป็นปัจจัยแรกที่ควรจะพิจารณา โดยดูว่าตลาดเป้าหมายของเรามีอุปนิสัยในการใช้สื่ออย่างไรบ้าง เช่น บริษัทผลิตของเล่นสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเชื่อว่าเด็กควรจะเป็นผู้ที่บริษัทควรพยายามเข้าให้ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะเป็นผู้มีอำนาจซื้อ ดังนั้นการเลือกสื่อก็ควรจะหลีกเลี่ยง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวิทยุ สื่อที่จะเข้าถึงเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ โทรทัศน์ เป็นต้น

2.สินค้า เนื่องจากสื่อหลักต่าง ๆ มีคุณสมบัติที่โม่เหมือนกัน ในด้านการแสดงด้วยภาพ การอธิบายความน่าเชื่อถือ และสีสัน เช่นกล้องถ่ายรูปเหมาะที่จะใช้การโฆษณาทางโทรทัศน์ เพราะสามารถสาธิตวิธีการถ่ายรูปได้ และเห็นสีสัน ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ สินค้าแระเภทเสื้อผ้า สีก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงเหมาะสมที่จะโฆษณาทางนิตยสาร เป็นต้น

3.ต้นทุนของสื่อเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีราคาแพงที่สุด ในขณะเดียวกันวิทยุเป็นสื่อที่ถูกกว่า อย่างไรก็ตาม ราคาของสื่อแต่ละประเภทไม่สามารถเปรียบเทียบกันโดยตรง เพราะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน และเข้ากลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันด้วย

การเลือกสื่อเฉพาะเจาะจง

ขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์ควรตัดสินใจก่อนว่าจะใช้จ่ายสำหรับสื่อแต่ละประเภท เป็นจำนวนเท่าใด เช่นการตัดสินใจเพื่อที่จะใช้จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาท ในการโฆษณาทางนิตยสารจากงบประมาณ 500,000 บาท แต่จะเลือกนิตยสารฉบับใด และจะลงโฆษณากี่ครั้ง อัตราค่าโฆษณาขึ้นอยู่กับขนาด สี และตำแหน่ง นิตยสารโดยทั่วไปจะเสนอลดราคาได้ ถ้าการลงโฆษณามีจำนวนครั้งมากพอ

การคิดค่าโฆษราใช้เกณฑ์ต้นทุนต่อพัน (The cost-per-thonsand criterion)

ผู้วางแผนสื่อโฆษณาพยายามคำนวณหาต้นทุนต่อพันคนของแต่ละสื่อ สมมุติว่าถ้าลงโฆษณาในนิตยสารดิฉัน เต็มหน้าสี่สี ราคา 60,000 บาท และประมาณว่ามีจำนวนผู้อ่าน 240,000 คน ดังนั้นตันทุน ของการเข้าถึงคนต่อหนึ่งพันคนเท่ากับ 250 บาท ในขณะที่นิตยสารเปรียวอัตราค่าโฆษณาสี่สี่เต็มหน้าราคา 60,000 บาท และสามารถเข้าถึงผู้อ่านได้จำนวน 180,000 คน ตันทุนของการเข้าถึงคนต่อหนึ่งพันคนเท่ากับ 333 บาท ผู้วางแผนสื่อโฆษณาอาจจะจัดลำดับนิตยสารต่าง ๆ ตามอัตราของต้นทุนต่อพันคน เพื่อพิจารณาการเลือกว่านิตยสารฉบับใดมีต้นทุนต่อพันคนต่ำ

การใช้เกณฑ์ต้นทุนต่อพัน มีจุดอ่อนอยู่หลายประการ
1.วิธีการนี้ใช้วัดตัวเลขจำนวนผู้อ่านทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้อ่านเป้าหมายเป็นกลุ่มใด และจะมีคุณค่ากับผู้อ่านกลุ่มใดมากที่สุด เช่น นิตยสารฉบับหนึ่งมีจำนวนผู้อ่านมาก ต้นทุนต่อพันต่ำ แต่ ถ้ากลุ่มผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านที่มีอายุมาก และสินค้าที่โฆษราเป็นสินค้าสำหรับวัยรุ่น การโฆษณาโดยใช้เกณฑ์นี้เป็นตัววัดก็จะไม่ได้ผล

2.โดยทั่วไปมักจะเข้าใจว่าโฆษณาที่ลงในสื่อ เช่น นิตยสารจะประกฎแต่ผู้อ่านนิตยสารนั้นทุกคน แต่ความจริงแล้วมีคนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะอ่านโฆษณาและมีบางคนเท่านั้นที่จะประทับใจ ดังนั้นการใช้วิธีต้นทุนต่อพันจะทำให้ไม่ได้ตัวเลขที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะอ่านหรือเห็นโฆษณา เพราะจะเป็นตัวเลขรวม

3.คุณภาพของนิตยสาร วิธีการนี้ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพที่แตกต่างกันของนิตยสาร ถึงแม้นิตยสารหลาย ๆ ฉบับจะเข้าถึงผู้ซื้อกลุ่มเป้าหมายเหมือนกัน ผู้โฆษณาก็ยังมีความเห็นว่าความเชื่อถือ คุณภาพอื่น ๆ ของนิตยสารแต่ละฉบับไม่เท่ากัน

การกำหนดเวลาของค่าใช้จ่ายการโฆษณา (Timing of Advertising Expenditures)

ปัญหาของการกำหนดเวลาสำหรับค่าใช่จ่ายการโฆษณา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การกำหนดเวลามหภาค และจุลภาค

กำหนดเวลามหภาค เกี่ยวข้องกับวิธีการที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายการโฆษณา ตลอดทั้งปีเพื่อให้สอดคล้องกับยอดขายของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไปตามฤดูการ สมมุติว่ายอดขายของอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งสูงสุดในเดือนธันวาคม และตกต่ำในเดือนมีนาคม ผู้ขายมีทางเลือกในการจัดสรรค่าใช้จ่ายการโฆษณาอยู่ 3 ทาง คือ

1.จ่ายค่าโฆษณาตามยอดขายที่เปลี่ยนแปลง
2.จ่ายค่าโฆษณาตรงกันข้ามกับยอดขายที่เปลี่ยนแปลง
3.จ่ายค่าโฆษณาเท่ากันตลอดทั้งปี

มีทฤษฏี 2 แบบ ที่ถูกพัฒนาเพื่อแนะนำการกำหนดเวลาแบบมหภาค
ก.ทฤษฏีของ
Jay Forrester เขากล่าวว่าควรจะศึกษาและวิเคราะห์สินค้าแต่ละชนิดว่า ช่วงระยะเวลาระหว่างโฆษณา ความตระหนักใจ และการซื้อยาวเพียงใด ถ้าตามปกติผู้ซื้อจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก่อนที่จะเกิดความตระหนักใน และใช้เวลาอีก 1 เดือนก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ก็หมายความว่าจะต้องโฆษณา 2 เดือน ก่อนที่จะมีการซื้อสินค้า ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ถึงช่วงระยะระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ เราก็จะสามารถปรับการโฆษณาให้เข้ากับระบบการผลิตของเราได้ เพื่อให้มีการผลิตสม่ำเสมอตลอดปี

ข.ทฤษฏีของ Alfred Kuehn เขากล่าวว่า การกำหนดระยะของการโฆษณาขึ้นอยู่กับระยะของความทรงจำ และอุปนิสัยของพฤติกรรมการเลือกตราสินค้า
ระดับของความทรงจำหมายถึงระดับของการโฆษณาที่ยังเหลืออยู่ในความทรงจำของผู้รับ ถ้าระดับของความทรงจำ
= .75/เดือน หมายความว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของการโฆษณาในเดือนที่แล้วยังอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค ถ้าระดับควาททรงจำ = .10/เดือน หมายความว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของการโฆษณาในเดือนที่แล้วยังอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค ถ้าอัตรานี้สูงมากเท่าใด ความถี่ของการโฆษณาก็ลดน้อยลงได้

อุปนิสัยของพฤติกรรมการเลือกตราสินค้า หมายถึงอัตราที่ผู้ซื้อจะเลือกตราสินค้านี้โดยไม่มีการส่งเสริมสินค้า ถ้าอัตราอุปนิสัย = .90 หมายความว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ซื้อสินค้านี้โดยไม่มีการส่งเสริมสินค้า เพราะอุปนิสัยหรือมีความภักดีในตราสินค้า ซึ่งไม่ต้องมีแรงกระตุ้นทางการตลาด

การกำหนดเวลาจุลภาค เกี่ยวข้องกับวิธีการที่จะจัดสรรงบค่าใช้จ่ายการโฆษณาในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ได้ผลสูงสุด สมมุติว่า บริษัทจะซื้อเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุจำนวน 30 ครั้ง ในเดือนกันยายน ทางเลือกที่จะทำได้คือ
1.โฆษณาในช่างในช่วงหนึ่งเป็นช่วงสั้นแต่โฆษณาให้ถี่มาก
2.โฆษณาต่อเนื่องทั้งเดือน
3.โฆษณาต่อเนื่องเป็นช่วง ๆ ทั้งเดือน

การกำหนดวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า ลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจำหน่าย และปัจจัยการตลาดอื่น ๆ

หลักการกำหนดเวลาสำหรับค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
1.อัตราการหมุนเวียนของผู้ซื้อ คือ อัตราที่ผู้ซื้อใหม่เข้ามาในตลาด ถ้าอัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ยิ่งจำเป็นที่จะเข้าถึงลูกค้าใหม่
2.ความถี่ของการซื้อ คือจำนวนครั้งที่ซื้อสินค้าในงวดหนึ่ง ๆ อัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ต้องมีความสำคัญมากที่จะรักษาความซื่อสัตย์ต่อตราสินค้าให้มากขึ้น
3.อัตราการลืม คืออัตราที่ผู้บริโภคลืมสินค้านี้ ถ้าไม่มีแรงกระตุ้น ยิ่งอัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ยิ่งจำเป็นมาก เพื่อให้ผู้บริโภคจำสินค้านี้อยู่ได้

การพัฒนาข้อความ (Message Development)

ผลของการโฆษณาต่อยอดขายไม่ใช่ฟังก์ชันของจำนวนการจ่ายเงินโฆษณาเพียงใดเท่านั้น สิ่งที่สำคัญของผลการโฆษณาต่อยอดขายหรือทัศนคติ มีแนวโน้ม คือ ใช้จ่ายเงินนั้นอย่างไรโดยเฉพาะในด้านข้อความที่ให้ไปว่า พูดอะไร พูดอย่างไร และพูดบ่อยเพียงใด การศึกษาทางด้านสถิติส่วนใหญ่ละเลยปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ ทำให้แต่ละแคมเปญการโฆษณาไม่แตกต่างกันหรือไม่มีอันใดเด่น มีผลให้ไม่สามารถอธิบายถึงการเคลื่อนไหวของส่วนครองตลาดได้ จากการศึกษาเกี่ยวกับการโฆษณาไดผลสรุปออกมาว่ากลยุทธ์การสร้างสรรค์ที่ดีและมีความแตกต่างกัน มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการโฆษณา

การกล่าวถึงสินค้าชนิดหนึ่งอาจทำได้หลายแบบ แต่ผู้ซื้อจะไม่เชื่อ หรือไม่สามารถจำข้อมูลในสิ่งที่โฆษณาอ้างถึงหลาย ๆ อย่างได้ ข้อความควรเน้นแต่สิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อจะสามารถเรียนรู้ลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นเกี่ยวกับสินค้า การพัฒนาข้อความแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การสร้างข้อความ การประเมินข้อความและการเลือกข้อความ

การสร้างข้อความ (Message Generation)

ปัญหาของการสร้างข้อความคือ การสรรหาคำพูดที่ทำให้มีประสิทธิผลต่อสินค้าหรือตลาดเป้าหมาย กล่าวโดยทั่วไป กลยุทธ์การสร้างข้อความควรจะต้องตัดสินใจก่อนเกี่ยวกับแนวความคิดสินค้า การวางตำแหน่งสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ทางด้านกลยุทธ์การตลาดและวัตถุประสงค์ ถ้าได้มีการกำหนดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกี่ยวกับสินค้าแล้ว การกำหนดกลยุทธ์ข้อความโฆษณาเป็นสิ่งไม่ยาก

ในขณะเดียวกัน สินค้าเมื่อเป็นไปตามวัฏจักรสินค้าจะพบคู่แข่งขันมากมายซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนคุณลักษณะและประโยชน์ของสินค้าที่ตลาดต้องการ ซึ่งมีผลให้ต้องเปลี่ยนข้อความโฆษณาใหม่ตามความต้องการของตลาดหรือเพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขัน นักสร้างสรรค์พยายามหาวิธีจะสร้างข้อความโฆษณาให้น่าสนใจและดึงดูดตลาดเป้าหมาย หลายความคิดจากบุคคลเหล่านี้ ลูกค้าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้ได้ความคิดที่ดี ความรู้สึกต่อตราสินค้าของบริษัทเป็นแนวทางสำหรับกลยุทธ์การสร้าวสรรค์

ปัจจุบันการใช้วิธีการสรุปจากหลักเกณฑ์ (dedective) ในการสร้างความสนใจต่อโฆษณาได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้คือการได้มาจากทฤษฏีการวางตำแหน่งสินค้า (Product positioning theory) ผู้โฆษณาจะดูว่าตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ของเขามีตำแหน่งอย่างไรในความคิดของผู้บริโภค ซึ่งวิธีนี้จะให้โอกาสที่จะสร้างข้อความโฆษณาสำหรับการสื่อสารที่เหมาะสม

การประเมินและการเลือกข้อความ (Message evaluation and selection)

การเลือกข้อความที่ดีที่สุด จำเป็นต้องมีกำหนดกฏเกณฑ์การเลือกข้อความโฆษณาต่าง ๆ Twedt ได้แนะนำการพิจารณานั้นควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้เป็นสำคัญ คือความปรารถนา (Desirabilty) ความเฉพาะเจาะจง (Exclusiveness) และความเชื่อถือ (Believability) เขาเชื่อว่าการจะดึงดูดความสนใจของตลาดเป้าหมายได้ควรคำนึงถึง 3 แฟกเตอร์ นั่นคือ ข้อความควรพูดถึ่งสิ่งที่น่าปรารถนาในตัวสินค้า ซึ่งยังไม่เป็นการเพียงพอเพราะสินค้าหลาย ๆ ตรา ก็จะกล่าวในทำนองเดียวกัน ดังนั้นข้อควาทที่ใช้ควรจะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับสินค้าของบริษัทเท่านั้นและข้อความนั้นต้องน่าเชื่อถือและสามารถพิสูจน์ได้

การจัดอันดับความดึงดูดใจของการโฆษณาโดยการสอบถามผู้บริโภคอาจจะสะท้อนถึงความคิดเห็น แต่ไม่ใช่สะท้องถึงพฤติกรรม ดังนั้นผู้โฆษณาควรต้องทำการทดสอบขั้นต้นเพื่อพิจารณาข้อความใดดึงดูดมากที่สุด

การทำข้อความโฆษณา (Message execution)

ผลกระทบของการโฆษณาไม่ใช่จะขึ้นอยู่กับว่าควรจะพูดอะไร แต่ยังขึ้นอยู่กับว่าควรจะพูดอย่างไร

ขั้นตอนของการทำข้อความ ประกอบด้วย
1.โครงสร้างข้อความ (Message structure) คือวิธีที่จะวางข้อความให้เหมาะสมเพื่อจะได้ผลมากที่สุด เรื่องนี้ได้อธิบายแล้วในบทก่อน

2.การพัฒนาบทโฆษณา (Copy development) คือการค้นหาถ้อยคำ รูปภาพ สัญลักษณ์ สี และแนวที่จะใช้ในการสร้างบทโฆษณา บริษัทโฆษณากำหนดกฏเกณฑ์อย่างกว้างในการสร้างข้อความไว้ดังนี้
ก.ออกแบบข้อความโฆษณาที่จะเรียกความสนใจ
ข.ปรับข้อความให้เหมาะสมกับสื่อโฆษณา
ค.ทำข้อความให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้
ง.ใช้คำพูดหรือสิ่งที่ผู้รับสื่อคุ้นเคย

ส่วนประกอบของบทโฆษณา เช่น สี ขนาด พาดหัว และอื่น ๆ อาจจะมีผลกระทบที่แตกต่างกัน อย่างมากต่อบทโฆษณา เช่นเดียวกับต้นทุน การวิเคราะห์ธุรกิจโฆษณา แฟกเตอร์สำคัญที่จะมีผลต่อการวัดจำนวนของผู้อ่านคือ สี และขนาด โฆษณาสี่สี จะดึงดูดความสนใจมากกวาโฆษณาขาว-ดำ โฆษณาขนาดเต็มหน้าจะเรียกร้องความสนใจมากกว่าขนาด ¼ หน้า เป็นตัน

ลูกค้าของบริษัทโฆษณามักต้องการให้บริษัทโฆษราสร้างแนวความคิดโฆษณามาหลาย ๆ แบบเพื่อจะได้ทดสอบดูว่าแนวความคิดแบบใดดีที่สุด แต่ยิ่งสร้างแนวคิดโฆษณามากเท่าไร ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมากเท่านั้น ถ้าบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์จ่ายค่าใช้จ่ายในการสร้างแนวคิดโฆษณาได้บริษัทโฆษณาก็จะสร้างออกมาหลาย ๆ แบบ แต่จากผลตอบแทนที่ได้เป็นเปอร์เซนต์นั้น อาจจะไม่กระตุ้นให้บริษัทโฆษณาอยากทำ แนวคิดโฆษณาหลายแบบเพื่อมาใช้ทำการทดสอบก่อนออกสื่อโฆษณา อย่างไรก็ตามการสร้างแนวคิดโฆษณาออกมาหลาย ๆ แบบเพื่อทดสอบขั้นต้นนั้นเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูง บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์มักไม่ยินดีจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้

การตัดสินใจในการโฆษณา

ในบทนี้เราจะพิจารณาถึงการตัดสินใจที่สำคัญของการโฆษณาอันได้แก่

1.บริษัทควรใช้จ่ายค่าโฆษณาเป็นจำนวนเท่าไร
2.ข้อความโฆษณาและวิธีการเสนอควรใช้วิธีใด
3.ควรเลือกใช้สื่อโฆษณาชนิดใด
4.การโฆษณาปีหน้าควรจะแบ่งออกเป็นช่วงอย่างไรบ้าง
5.วิธีการใดจึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบว่าการโฆษณานั้นประสบความสำเร็จ

ขนาดของงบประมาณการโฆษณา (Size of the advertisting budget)

ทุกปีบริษัทจะต้องตัดสินใจว่าเขาจะใช้เงินเพื่อการโฆษณาเท่าไร วิธีการที่ใช้เพื่อกำหนดงบประมาณการโฆษณามี 4 วิธี คือ

1.กำหนดตามจำนวนเงินที่สามารถจะจัดสรรให้ได้ (Affordable Method) บริษัทหลายแห่งตั้งงบประมาณการโฆษณาโดยพิจารราว่าบริษัทสามารถจะจัดสรรเงินเพื่อเป็นค่าโฆษณาเท่าไร วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพียงแต่สอบถามทางบันไดฝ่ายการเงินว่าจะมีเงินให้เท่าใดในปีหน้า ถ้าฝ่ายการเงินบอกว่ามีให้ 15 ล้านบาท นั่นก็คืองบประมาณการโฆษณา วิธีนี้มีข้อเสียคือ งบประมาณไม่แน่นอนและทำให้การวางแผนระยะยามสำหรับการพัฒนาตลาดเป็นไปอย่างลำบาก

2.กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย (Percentage-of-Sales Method) บริษัทหลายแห่งที่กำหนดงบประมาณการโฆษณาเป็นเปอร์เซนต์ของยอดขาย วิธีนี้มีประโยชน์หลายประการ

ประการแรก การคิดตามเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย หมายความว่าค่าใช้จ่ายในการโฆษณาในการโฆษณาแปรผันตามจำนวนเงินที่บริษัทสามารถจะให้ได้ ซึ่งทำให้ผู้บริหารทั้งหลายพอใจ เพราะเขาเหล่านี้รู้สึกว่าค่าใช้จ่ายใด ๆ ก็ตาม ควรจะมีความสัมพันธ์กับรายได้ของบริษัทและการหมุนเวียนของธุรกิจ

ประการที่สอง วิธีนี้ช่วยให้ฝ่ายบริหารคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายโฆษณา ราคาขายและกำไรต่อหน่วย

ประการที่สาม วิธีนี้ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการแข่งขัน เพราะบริษัทคู่ปข่งก็ใช้จ่ายค่าโฆษณาในอัตราเดียวกันกับยอดขาย

ถึงแม้ว่าประโยชน์ของวิธีนี้จะมีหลายประการ การใช้วิธีกำหนดตามเปอร์เซ็นต์ของยอดขายไม่ได้คำนึกถึงหลักทฤษฏีเท่าใด เพราะวิธีนี้คำนึงว่าการขายทำให้เกิดการโฆษณา ไม่ใช่การขายเป็นผลมาจากโฆษณา นอกจากนี้ยังกำหนดตามจำนวนเงินที่ไม่ใช่กำหนดตามโอกาส การกำหนดงบประมาณโฆษณาเป็นแบบปีต่อปี ซึ่งทำให้ขัดต่อการวางแผนระยะยามของการโฆษณา วิธีนี้ไม่มีหลักการในการกำหนดเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอน นอกจากดูว่าในระยะที่ผ่านมาทำอย่างไร คู่แข่งทำอย่างไร และดูว่าต้นทุนจะเป็นอย่างไร การกำหนดค่าโฆษณาสำหรับสินค้าหรืออาณาเขตก็ใช้อัตราเดียวกันหมด

3.การกำหนดตามคู่แข่งขัน (Competitive-parity method) บางบริษัทกำหนดงบประมาณค่าโฆษณาใช้เท่ากับคู่แข่งขัน เหตุผลที่ใช้วิธีนี้มีอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือ ค่าใช้จ่ายของคู่แข่งขันในอุตสาหรรมอย่างเดียวกันเป็นวิธีการที่เหมาะสม และประมารที่สอง คือ ป้องกันสงครามการโฆษณา เหตุผลทั้งสองประการนี้ไม่ใช่เหตุผลที่ดี เนื่องจากแต่ละบริษัทย่อมมีชื่อเสียง ทรัพยากร/โอกาส วัตถุประสงค์และอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน การที่จะให้บริษัทหนึ่งเป็นตัวอย่างของอีกบริษัทหนึ่งเป็นไปได้ยาก

4.การกำหนดงบประมาณตามวัตถุประสงค์ (Objective and task method) การกำหนดงบประมาณโดยวิธีนี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ก.กำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณาให้เฉพาะเจาะจง
ข.กำหนดที่ที่ต้องการกระทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ค.ประเมินค่าต้นทุนต่าง ๆ ที่ต้องใช้เพื่อทำหน้าที่เหล่านั้น ผลรวมต้นทุนเหล่านี้คืองบประมาณค่าโฆษณา

วิธีนี้เป็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้โฆษณา แต่มีข้อจำกัดคือวิธีนี้ไม่ชี้ให้เห็นว่าควรจะเลือกวัตถุประสงค์อย่างไรและค่าใช้จ่ายที่ลงไปนั้นคุ้มค่าหรือไม่

จุดมุ่งหมายของการโฆษณา (Purpose of Advertising)

การโฆษณาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ธุรกิจใช้ในการสื่อสารชักชวนผู้บริโภค เป้าหมายและสาธารณชน ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการสื่อสารอย่างไม่เป็นส่วนตัว โดยผ่านสื่อและมีผุ้สนับสนุนที่เปิดเผยเป็นผู้จ่ายเงิน ในประเทศไทยค่าใช้จ่ายในการโฆษณาได้เพิ่มขึ้นมาก สินค้าที่มักใช้งบประมาณการโฆษณาสูง ได้แก่ สบู่ เครื่องใช้ในการทำความสะอาด เครื่องสำอาง รถยนต์ อาหาร เครื่องดื่ม สี เสื้อผ้า นาฬิกา และห้างสรรพสินค้า ที่อยู่อาศัย เป็นต้น

จุดมุ่งหมายของการโฆษณา (Purpose of Advertising)

โดยทั่วไปการโฆษณาก็เพือนจะเพิ่มยอดขาย และ/หรือ กำไรของบริษัท อย่างไรก็ตาม การโฆษณาแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างมากมาย ปัจจัยอื่น ๆ ก็มีความสำคัญด้วยเหมือนกัน เช่น คุณสมบัติของสินค้า ราคา การบรรจุหีบห่อ พนักงานขาย การบริการ ช่องการจัดจำหน่าย และปัจจัยทางการตลาดอื่น ๆ จุดมุ่งหมายของการโฆษณาทีแน่นอนก็คือ พยายามทำให้ผู้บริโภคเกิดปฏิกิริยาต่อบริษัทและสินค้า หรือบริการที่บริษัทเสนอให้ ซึ่งจะกระทำโดยการให้ข่าวสาร แยกความต้องการ สร้างการโน้มน้าว และเสนอเหตุผลที่ผุ้บริโภคควรจะพอใจในบริษัทและสิ่งที่บริษัทเสนอให้ ได้มีการโต้เถียงอย่างมากเกี่ยวกับอำนาจของการโฆษณา(The power of advertising) ที่มีอิทธิพลต่อผุ้บริโภค การที่จะทราบว่าประสิทธิผลของการโฆษณามีเพียงใดนั้น เป็นสิ่งที่ทราบได้ยาก นอกจากบางกรณีที่เป็นได้อย่างชัดเจน การโฆษณาทางตรงที่ส่งจดหมายไปยังผุ้บริโภค การวัดประสิทธิผลทำได้งาน การโฆษณาที่มีประสิทธิผลไม่สามารถทดแทนสินค้าที่คุณภาพไม่ดี ถ้าบริษัทมีสินค้าที่ดีและเหมาะสม การโฆษณาจะมีประโยชน์มากต่อโปรแกรมการตลาด ซึ่งส่งเสริมให้มีการซื้อสินค้ามากขึ้น

การโฆษณามีประสิทธิผลมากในโปรแกรมการตลาด ในกรณีต่อไปนี้
1.ความตระหนักของผู้บริโภคต่ำ
2.ยอดขายของอุตสาหกรรมกำลังสูงขึ้น
3.คุณสมบัติของสินค้าไม่ได้เป็นที่สังเกตของผุ้บริโภค
4.โอกาสของการทำให้สินค้าแตกต่องกันไปมีมาก
5.รายได้เพื่อการจับจ่ายใช้สอยสูง

เป้าหมายของการโฆษณาควนจะกำหนดให้แน่นอนเพื่อที่จะให้การวางแผนการโฆษณาและการวัดผลมีประสิทธิภาพ เป้าหมายของการโฆษณาขั้นสุดท้ายก็คือ การเพิ่มยอดขายหรือกำไรของบริษัท แตเพราะว่าความยากลำบากในการวัดผลอันนี้ นักโฆษณาจึงพยายามกำหนดเป้าหมายที่สามารถวัดได้ เป้าหมายที่เป็นไปได้ ได้แก่

1.การเปิดเข้าถึง (Exposure) ผู้โฆษณามักกำหนดเป้าหมายของผู้ที่จะเข้าถึงสื่อโฆษณาไว้เป็นตัวเลขจำนวนหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การเปิดเข้าถึงหมายถึง จำนวนผู้รับสื่อเป้าหมายที่ได้เปิดเข้าถึงสื่อใดสื่อหนึ่งที่มีโฆษณาแต่ไม่ใช่ผุ้ที่เห็นโฆษณาจริง ๆ นั่นหมายถึงว่า ถ้าทีประชาชนจำนวนสองล้านคนอ่านหนังสือพิมไทยรัฐ จะเข้าใจว่าการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐจะมีการเข้าถึงคนจำนวนสองล้านคน ผู้โฆษณามักจะต้องได้เป้าหมายที่เจาะจงเพื่อหารการเข้าถึงที่เป็นจำนวนที่เข้าถึง (reach) และ ความถี่ (frequency) ของการเห็นโฆษณา ในความเป็นจริงอาจจะมีผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐสองล้านคนจริง แต่จะมีจำนวนไม่ถึงสองล้านคนที่ได้อ่านโฆษณา

2.ความตระหนัก (Awareness) ผู้โฏษณาจะมีความเชื่อมั่นมากกว่า ถ้าผุ้รับสื่อเป้าหมายได้ยินหรือเป็นโฆษณาจริง ๆ ผุ้โฆษณาอาจจะกำหนดเป้าหมายระดับผู้รับสื่อ ความสำเร็จของแคมเปญโฆษณาจะสามารถวัดได้โดยการสำรวจผู้รับสื่อที่สามารถจำได้หรือ recall โฆษณาได้

3.ทัศนคติ (Attitude) เป็นจุดประสงค์ที่ผู้โฆษณาต้องการรู้ว่าโฆษณานั้นจะทำให้กลุ่มเปาหมายมีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าหรือบริษัทหรือไม่ การที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าหรือบริษัทนั้นมิได้เป็นผลมาจากโฆษณาแต่เพียงอย่างเดียว แต่ผู้โฆษณาก็สามารถวัดผลกระทบของทัศนคติจากแคมเปญการโฆษณาได้

4.ยอดขาย (Sales) บริษัทมักจะกำหนดเป้าหมายในเรื่องการขาย การวัดผลการขายจากการโฆษณาเป็นที่วัดได้ยาก ต้องมีการวัดปัจจัยอื่นประกอบด้วย

การตั้งเป้าหมายควรจะทำได้แน่นอนเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสร้างเนื้อหาและความคิด โฆษณา การเลือกสื่อโฆษณา และการวัดผลของเป้าหมายที่ตั้งให้ได้ เช่นกำหนดวัตถุประสงค์ว่า เพื่อเพิ่มความนิยมในตราสินค้า ย่อมจะไม่ดีเท่ากับการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่า เพื่อสร้างความชอบตราสินค้าX 30% ในกลุ่มแม่บ้าน เป้าหมายในปีหน้า เป็นต้น การระบุวัตถุประสงค์ไว้อย่างละเอียดจะทำให้การวัดผลง่ายขึ้น

เครื่องมือในการส่งเสริมการตลาด

การส่งเสริมการตลาดเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของส่วนผสมการตลาด ซึ่งหน้าที่ของการส่งเสริมทางการตลาดก็คือ การสื่อสาร ชี้ชวน ส่วนผสมการส่งเสริมการตลาดประกอบด้วย การโฆษณา (Advertising) การขายส่วนตัว (Personal selling) การประชาสัมพันธ์ (Publicity) และการส่งเสริมการขาย (Sales promotion)

การโฆษณา (Advertising)

หมายถึง การเสนอการขายแบบไม่ใช่เป็นการขายตัวต่อตัว เป็นการส่งเสริมความคิด สินค้า หรือบริหาร โดยผู้สนับสนุนเป็นผู้จ่ายเงิน การโฆษณาเกี่ยวข้องกับสื่อกลองต่าง ๆ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายกลางแจ้ง การส่งจดหมาย กล่องไม่ขีดไฟ ปฏิทิน ป้ายหลังรถเมล์ หรือสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ เป็นต้น การโฆษณาอาจเป็นการโฆษณาสถาบัน (institutional advertising) การโฆษณาเพื่อการขายสินค้า (sales advertising) และอื่น ๆ

เนื่องจากการโฆษณาอาจทำได้หลายรูปแบบ จึงเป็นการยากที่ชี้ให้เป็นคุณสมบัติที่แตกต่างกันจริง อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของการโฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณาตราสินค้า และการโฆษณาสถาบัน
1.การเสนอต่อสาธารณชน (Public Presentation) การโฆษณาแตกต่างกับการขายส่วนตัว เพราะการโฆษณาเป็นการสื่อสารที่เกี่ยวกับสาธารณชนเป็นจำนวนมาก สินค้าที่เสนอควรเป็นมาตรฐาน เนื่องจากบุคคลจำนวนมากรับฟังข่าวสาร ผู้ซื้อควรเข้าในสิ่งจูงใจสำหรับการซื้อสินค้า ดังนั้นการสื่อสารควรจะต้องเป็นที่เข้าใจของประชาชนทั่วไปเพื่อนให้ตัดสินใจได้
2.ความแพรหลาย (pervasiveness) การโฆษณาเป็นสื่อแพร่หลายที่อนุญาตให้ผู้ขายกล่าวข่าวสารนั้นซ้ำได้หลายครั้ง และยังให้โอกาสผู้ซื้อรับข่าวสารนั้นไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันอื่น ๆ ได้
3.การจำแนกออกด้วยความหมายที่กว้างขวาง (Amplified expressiveness) การโฆษณาให้โอกาสในการสร้างความน่าทึ่งให้กับบริษัทและสินค้า โดยการใช้ศิลปะในด้านรูป เสียง สี และความคิดสร้างสรรค์ บางครั้งการใช้เครื่องมือที่มีความหมายลึกซึ้ง อาจจะช่วยให้ข่าวสารเข้าใจง่ายขึ้นหรือทำให้ข่าวสารนั้นเขวไปได้
4.ความไม่เกี่ยวกับบุคคล (Impersonality) การโฆษณาไม่สามารถนำมาบังคับให้เป็นพนักงานขายได้ เพราะผู้ฟังไม่จำเป็นต้องสนใจหรือมีปฏิกิริยาโต้ตอบ

การโฆษณาเป็นเพียงการนำคำบรรยายอย่างเชิญชวนหรือโน้มน้าวไปสู่ผู้ฟัง ไม่ใช่เป็นการสนทนา

การขายส่วนตัว (Personal selling)

การขายส่วนตัวทำได้หลายแบบ เช่น การขายโดยพนักงานขายเดินตลาด ที่เป็นตัวแทนของบริษัท การขายโดยพนักงานขายประจำร้านเป็นแบบขายปลีก และการขายระดับผู้บริหารโดยการเชิญประธานบริษัทมาพบกัน การขายส่วนตัวมีจุดประสงค์หลายประการ ซึ่งอาจเป็นการขายเพื่อให้เกิดความตระหนักใจในสินค้า กระตุ้นให้เกิดความสนใจ สร้างชื่อเสียงของสินค้า หรือเพื่อปิดการขาย

คุณสมบัติของการขายส่วนตัวประกอบด้วย
1.การเผชิญหน้ากัน (Personal Confrontation) การขายส่วนตัวเป็นการขายจริง ซึ่งมีบุคคลตั้งแต่2 คนขึ้นไปโต้ตอบกัน แต่ละฝ่ายสามารถสังเกตดูควาทต้องการของแต่ละฝ่ายและพยายามปรับปรุงแก้ไขข้อเสนอทันที ให้ตรงตรมความต้องการของอีกฝ่าย
2.สร้างความสัมพันธ์ (Cultvation) การขายส่วนตัวคือ การใช้ความสัมพันธ์ในทางการขายให้เกิดความสัมพันธ์ส่วนตัว พนักงานขายจะพยายามสร้างความกดดันให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้า และด้วยความพยายามที่ดีที่สุดที่จะให้ความสนใจกับผู้บริโภคในเวลานานที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.การโต้ตอบ (Response) ในทางตรงข้ามกับการโฆษณา การขายส่วนตัวพยายามให้ผู้วื้อเกิดความผูกมัดที่จะต้องรับฟังการขายและมีความต้องการที่จะเข้าร่วมและโต้ตอบต่อการสนทนา อันจะนำไปสู่ความเข้าใจใจตัวสินค้ามากขึ้น และตัดสินใจได้ง่ายด้วย

การประชาสัมพันธ์ (publicity)

บริษัทและสินค้าอาจจะเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป โดยการที่ทำให้เป็นข่าว วิธีนี้ผู้ขายไม่จำเป็นต้องเสียเงินให้กับข่าวสาร ซึ่งเราอาจเรียกว่าการโฆษณาแบบไม่เสียเงิน โดยบริษัทพยายามทำให้บริษัทและตัวสินค้านั้นเป็นข่าวที่น่าสนใจสำหรับนักข่าว ซึ่งจะนำไปเผยแพร่ได้ บริษัทได้ตระหนักว่าในการประชาสัมพันธ์ที่ดีนั้นต้องการความชำนาญ จึงมากหมายงายนี้ให้กับบริษัทประชาสัมพันธ์โดยตรง เนื่องจากจะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ให้บริษัท ดังนั้นจึงมิอาจกล่าวได้ว่า การประชาสัมพันธ์เป็นการโฆษณาที่ไม่เสียเงินเลย

คุณสมบัติของการประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย
1.ความจริง เรื่องราวใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้าของบริษัทที่มาจากการประชาสัมพันธ์ มักจะมีรายละเอียดความจริงมากกว่าข่าวสารที่ถูกเสนอโดยการโฆษณา และผู้รับข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์ จะมีความเชื่อถือในข้อมูลนี้มากกว่ามารโฆษณา
2.ความทั่วถึง การประชาสัมพันธ์สามารถเข้าถึงผู้ซื้อที่เป็นไปได้ ซึ่งพนักงานขายหรือการโฆษณาอาจเข้าไม่ถึง ทั้งนี้เป็นเพราะว่าข่าวสารนี้อยู่ในรูปข่าวมากกว่าการขายโดยตรง
3.เหตุการณ์น่าสนใจ การประชาสัมพันธ์เหมือนกับการให้ข้อมูลและสาระที่ช่วยทำให้เรื่องราวต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าและบริษัทเป็นที่น่าสนใจ

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)

ประกอบด้วยเครื่องมือในการส่งเสริม ซึ่งไม่ได้อยู่ในการโฆษณา การขายส่วนตัว หรือการประชาสัมพันธ์ เครื่องมือเหล่านี้อาจจะแบ่งย่อยลงไปได้แก่
1.การส่งเสริมผู้บริโภค (Consumer promotion) อันประกอบด้วย การแจกตัวอย่าง การคือเงิน การลดราคา การให้ของแถม การแข่งขัน การให้แสตมป์ การสาธิต เป็นต้น
2.การส่งเสริมการค้า (Trade promotion) อันประกอบด้วยการให้ส่วนลดในการซื้อ การให้สินค้าฟรี การช่วยเหลือในด้านโฆษณา การจัดการแข่งขันทางการขายระหว่างตัวแทน เป็นต้น
3.การส่งเสริมกำลังขายหรือพนักงานฝ่ายขาย (Sales-force promotion) ประกอบด้วยการให้โบนัสพิเศษเมื่อยอดขายทะลุเป้า การแข่งขันเป้าการขายระหว่างพนักงานขาย เป็นต้น

การส่งเสริมการขายมีบทบาทสำคัญมากโดยเฉพาะในระยะแรกที่เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายจะตกประมาณ 20-35 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณการส่งเสริมของบริษัท และผลของการส่งเสริมการขายมักจะเป็นผลได้ชัดเจนมากกว่าการโฆษณา

ส่วนผสมของการส่งเสริมการตลาด (The Promotion Mix)

สิ่งที่บริษัทต้องตัดสินใจในเรื่องการส่งเสริมการตลาดมี 2 ประการ
1.เขาจะต้องลงทุนในด้านการส่งเสริมการตลาดเป็นจำนวนเท่าใด
2.เขาจะใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดแต่ละชนิดอย่างไร

เนื่องจากการส่งเสริมการตลาดเป็นเพียงวิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่จุกระตุ้นยอดขาย บริษัทจึงประสบกับปัญหาที่ว่า เงินในการส่งเสริมการตลาดควรใช้ในด้ายวิจัยตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การลดราคาสินค้า หรือการบริหารลูกค้าหรือไม่ การส่งเสริมการตลาดบางส่วนก็มีส่วนสำคัญในการสร้างให้ลูกค้าเกิดความตระหนักใจในสินค้า และอาจมีผลทางด้านจิตวิทยาที่สร้างความพอใจให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งในแง่นี้ก็อาจจะชี้ความหมายได้ว่า การส่งเสริมเพิ่มคุณค่าให้กับข้อเสนอของบริษัท ปัญหาที่เขาควรจะใช้เงินเพื่อนการส่งเสริมการตลาดเท่าใดไม่ใช่ปัญหาที่ยาก ในเชิงทฤษฏีงบประมาณ การส่งเสริมการตลาดควรจะกำหนด ณ จุดที่ Marginal profit จาก Marginal promotional baht เท่ากับ Marginal profit จากการใช้เงินในทางเลือกอย่างอื่น นอกจากการส่งเสริมการตลาด กล่าวโดยทั่วไปการส่งเสริมการตลาดจะมีความสำคัญต่อตลาดมากในกรณีต่อไปนี้
1.สินค้ามีลักษณะเหมือนกัน ดังนั้นบริษัทผู้นำพยายามจะให้สินค้าของตนเองแตกต่างทางด้านจิตวิทยา
2.สินค้าอยู่ในช่วงระยะแรกของวัฏจักรสินค้า ความตระหนักใจและความสนใจควรจะต้องถูกสร้างหรืออยู่ในช่วงระยะเติบโตเต็มที่ จำเป็นต้องใช้จ่ายเงินเพื่อที่จะรักษาส่วนครองตลาดไว้
3.สินค้าขายทางไปรษณีย์เป็นส่วนใหญ่
4.สินค้าขายแบบบริการตนเอง (self-service) เป็นส่วนใหญ

ปัญหาว่าควรจะใช้เครื่องมือแต่ละชนิดอย่างไร เป็นปัญหาที่ยากพอสมควร เพราะว่าเครื่องมือเหล่านี้อาจทดแทนกันได้ วิธีตัดสินใจก็เป็นวิธีเดียวกันการเลือกส่วนผสมทางการตลาดที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทก่อน

ส่วนผสมของการส่งเสริมการตลาดในตลาดผู้บริโภคและในตลาดสินค้าอุตสาหกรรม

การโฆษณานับได้ว่าเป็นเครื่องมือการส่งเสริมการตลาดที่สำคัญในตลาดผู้บริโภค และการขายส่วนตัว (Personal selling) เป็นเครื่องมือการส่งเสริมการตลาดที่สำคัญในตลาดสินค้าอุตสาหกรรม สำหรับการส่งเสริมการขาย (Sales promotion) ถือว่ามีความสำคัญต่อตลาดทั้งสองเท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เครื่องมือที่สำคัญมากนัก ส่วนการประชาสัมพันธ์ (Publicity) ยังมีความสำคัญน้อยที่สุดสำหรับตลาดทั้งสอง แต่ก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน

ความสำคัญของการโฆษณาในตลาดสินค้าอุตสาหกรรม

การตลาดสินค้าอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับผู้ขายสินค้าหนัก เช่น เหล็ก เครื่องจักรขนาดใหญ่และอื่น ๆ ซึ่งต้องเผชิญกับผู้ขายซึ่งรับผิดชอบต่อคุณภาพของสินค้า ราคา การขนส่ง และเชื่อถือได้ จึงเห็นได้ว่า การไปเยี่ยมลูกค้ามีผลมากกว่าการโฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสินค้าที่มีลักษณะพิเศษ แต่อย่างไรก็ตาม การโฆษณาก็มีส่วนสำคัญในตลาดสินค้าอุตสาหกรรมดังนี้
1.สร้างความตระหนักใจ (Awareness building) ถ้าลูกค้าในความหวังไม่ได้ตระหนักถึงบริษัท หรือสินค้า ลูกค้าอาจปฏิเสธที่จะได้รับการเยี่ยมจากพนักงานขายหรือพนักงานขายอาจต้องใช้เวลาอย่างมากในการแนะนำตัวเองหรือบริษัท หรือสินค้า
2.สร้างความพอใน (Comprehension building) ถ้าสินค้ามีลักษณะเป็นแนวความคิดใหม่ การโฆษณาอาจจะทำได้ดี เพื่ออธิบายหรือแสดงให้เห็นคุณลักษณะใหม่ หรือแนวความคิดใหม่นั้น
3.การเตือนที่มีประสิทธิภาพ (Efficient reminding) ถ้าลูกค้าในความหวังรู้จักสินค้าแต่ยังไม่พร้อมที่จะซื้อ การโฆษณาสินค้าเพื่อเป็นการเตือนลูกค้า จะทำให้ประหยัดมากกว่าการไปเยี่ยมลูกค้า
4.ก่อให้เกิดการชักนำ (Lead generation) การโฆษณาที่มีการให้ผู้บริโภคส่งคูปองคืนมา มักเปนตัวแนะนำที่ดีสำหรับพนักงานขาย
5.ความถูกต้องตามกฎหมาย (Legitimation) พนักงานขายของบริษัทอาจใช้ข้อความโฆษณาจากหนังสือ โดยการแสดงความถูกต้องตามกฎหมายในตัวสินค้าหรือบริษัท
6.ทำให้มั่นใจ (Reassurance) การโฆษราสามารถเตือนลูกค้าเกี่ยวกับการใช้สินค้า และทำให้ลูกค้าแน่ใจในการตัดสินใจซื้อสินค้า

ความสำคัญของการขายส่วนตัวในการตลาดสินค้าผู้บริโภค

ความสำคัญของพนักงานขายในตลาดสินค้าผู้บริโภคมีความเกี่ยวข้องเล็กน้อยต่อการโฆษณาตราสินค้า หลายบริษัทใช้พนักงานขายออกไปรวบรวมใบสั่งซื้อจากตัวแทน และดูว่าสินค้าคงคลังมีพอเพียงหรือไม่ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่า พนักงานขายวางสินค้าบนชั้นวางของ และการโฆษณาเอาสินค้าออกจากชั้นวางของ

อย่างไรก็ตาม พนักงานขายที่ผ่านการอบรมอย่างดีสามารถช่วยการตลาดสินค้าผู้บริโภคได้ดังนี้
1.เพิ่มสินค้าคงคลัง (Increased stock position) พนักงานขายสามารถชักจูงให้ตัวแทนเพิ่มสินค้าคงคลังหรือยอมให้มีชั้นวางของสำหรับสินค้าของบริษัทมากขึ้น
2.สร้างความกระตือรือร้น (Enthusiasm building) พนักงานขายสามารถทำให้ตัวแทนเกิดความกระตือรือร้นในสินค้าใหม่ โดยอาศัยความช่วยเหลือสนับสนุนจากการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย
3.การขายแบบเผยแพร่ (Missionary selling) พนักงานขายมีความสำคัญในการพยายามให้ตัวแทนเซ็นสัญญาที่จะรับจำหน่ายสินค้าของบริษัท

ถึงแม้ว่าจะเป็นสินค้าเพื่อผู้บริโภคเหมือนกัน บริษัทแต่ละบริษัทก็ยังให้ความสำคัญต่อการโฆษณาและการขายส่วนตัวไม่เหมือนกัน เช่น เครื่องสำอางเรฟลอน (Revlon) อาศัยการโฆษณาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสินค้า แต่เครื่องสำอางเอวอน (Avon) อาศัยการขายส่วนตัว

องค์การตลาดมีความนึกคิดแตกต่างกันใจการที่จะจัดสัดส่วนเหมาะสมของเครื่องมือส่งเสริมสินค้าเหล่านี้ เขาอาจไม่แน่ใจว่าเขาควรใช้เงินเป็นจำนวนเท่าใดกับเครื่องมือแต่ละชนิด ผู้จัดการฝ่ายขายเผชิญกับการตัดสินใจที่ลำบากว่า เขาควรจะใช้เงินที่มีอยู่ในการโฆษณาทางโทรทัศน์ วันละ 1 นาทีตลอดปีหรือควรจะใช้จ้างพนักงานขาย 5 คนตลอดปี ฝ่ายประชาสัมพันธ์อาจเห็นว่าบริษัทควรจะแบ่งเงินจากการโฆษณามาใช้ในการประชาสัมพันธ์บ้าง

ในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา การตัดสินใจเกี่ยวกับเครื่องมือการส่งเสริมเหล่านี้ตกอยู่ในความรับผิดชอบของคนหลายคน แต่ปัจจุบันบริษัทได้ใช้ในแนวความคิดของการสื่อสารรวม (integrated communication) ซึ่งหมายถึง
1.กำหนดตำแหน่งผู้รับผิดชอบในด้านการสื่อสาร เช่น ผู้อำนวยการสื่อสาร
2.กำหนดความสำคัญและหน้าที่ของเครื่องมือสงเสริมการตลาดที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสม
3.บันทึกการลงทุน ในด้านการส่งเสริมการตลาดทั้งหลาย ตามชนิดของสินค้า ชนิดของเครื่องมือ ขั้นตอนของวัฏจักรสินค้า และผลที่ได้สังเกตไว้ใช้เพื่อเป็นพื้นฐานการปรับปรุงการใช้เครื่องมือการส่งเสริมการตลาดแต่ละชนิด
4.กำหนดเครื่องมือที่เหมาะสมกับเวลา เมื่อจะมีการส่งเสริมการตลาดครั้งสำคัญ ในการแนะนำสินค้าใหม่ บริษัทต้องกำหนดความเหมาะสม ระหว่าการโฆษณากับสื่อกลาง การตลาดของการค้า การตกลงกับลูกค้า และการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการทำอย่างระมัดระวังเพราะการแนะนำสินค้าใหม่อาจจะผูกมัดกับตราสินค้าเก่า ๆ ก็ได้ การวิเคราะห์เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับสินค้า สามารถช่วยให้บริษัทปรับปรุงการวางแผนการใช้เครื่องมือให้ดีขึ้น และเป็นการนำไปสู่การเลือกกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่มุ่งจะแสดงให้เป็นว่าบริษัทสามารถช่วยลูกค้าแก้ปัญหาได้อย่างไร

 
 

Lorem Ipsum

Followers

Lorem Ipsum